2555/01/31

โรคหัวใจ



โรคหัวใจล้มเหลว
     คือภาวะที่หัวใจ ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้เพียงพอ หรือ อาจหมายถึง ภาวะที่หัวใจไม่สามารถคลายตัวหรือขยายตัวเพื่อรองรับเลือดได้ปกติ ทำให้เกิดความดันเลือดในช่องปอดมากขึ้น เกิดการคั่งของเลือดในปอดมากขึ้น ทำให้มีอาการเหนื่อยง่าย และอาจก่อให้เกิดอาการบวมของร่างกายได้
สาเหตุของหัวใจล้มเหลว  :  โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจรูมาติกหรือลิ้นหัวใจพิการ โรคหัวใจเป็นแต่กำเนิด โรคเยื่อหุ้มหัวใจบางชนิด โรคไตวาย โรคไทรอยด์เป็นพิษ โรคโลหิตจาง การดื่มเหล้ามาก ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ โรคติดเชื้อไวรัสแบคทีเรีย หรือวัณโรค ได้รับยาเคมีบำบัด หรือได้รับการฉายแสง โรคข้อบางชนิด ได้รับสารพิษบางชนิด โรคการนอนหลับบางชนิด ภาวะที่เป็นปัจจัยเสริมที่ทำให้มีอาการของโรคหัวใจล้มเหลวมากขึ้น
อาการของโรคหัวใจล้มเหลว  :  อาการเหนื่อยง่าย อาจเป็นได้ในขณะพัก หรือเวลาออกแรง แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก นอนราบไม่ได้เวลากลางคืน อาจต้องลุกขึ้นมาเพื่อช่วยหายใจ ไอ ใจสั่น บวมที่ขา หรือในช่องท้องจนทำให้ตับและม้ามโตได้ ถ้าเป็นนานๆ อาจอ่อนเพลียไม่มีแรงผอมลงได้
การตรวจวินิจฉัย  :   ซักประวัติ ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคต่างๆ ที่อาจเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรค และการตรวจร่างกายโดยแพทย์
การตรวจพิเศษ
   1. การตรวจเอกซ์เรย์ปอด ดูว่าเงาหัวใจโตหรือไม่ และดูว่าปริมาณของสารน้ำหรือเลือดคั่งในช่องปอดหรือไม่
   2. การตรวจกราฟหัวใจเพื่อดูว่า มีการบ่งชี้ถึงหัวใจโต หรือสงสัยว่ามีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือไม่ และมีลักษณะที่บ่งชี้ว่าหัวใจโต มีหัวใจเต้นเร็วหรือช้าผิดจังหวะหรือไม่
   3. การตรวจด้วย เครื่องสะท้อนคลื่นเสียงหัวใจ ดูการทำงานของกล้ามเนื้อ หัวใจว่ามีการบีบตัว หรือคลายตัวปกติหรือไม่ มีโรคลิ้นหัวใจพิการ รวมทั้งเยื่อหุ้มหัวใจว่าปกติหรือไม่
   4. การเจาะเลือด เพื่อดูระดับของเกลือแร่บางชนิดในเลือด การทำงานของไตไทรอยด์ หรือฮอร์โมน บางชนิด ปริมาณเม็ดเลือดแดง
การรักษาทั่วไป
       การควบคุมรักษา ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวและ การให้การศึกษา เพื่อให้ผู้ป่วยดูแลตนเองหลังจากกลับจากโรงพยาบาล
การรักษาโดยใช้เครื่องมือพิเศษ
       การฝังเครื่องช็อกหัวใจ เป็นเครื่องมือที่ใช้ฝังเข้าไปที่ตัวผู้ป่วยเพื่อทำการรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะซึ่งมักจะพบได้ในภาวะหัวใจล้มเหลวที่เป็นรุนแรง โดยเครื่องจะวินิจฉัยลักษณะการเต้นของหัวใจและทำการช็อกไปเองโดยอัตโนมัติ สามารถลดอัตราการเสียชีวิตโดยเฉียบพลันได้
       การฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ CRTเป็นเครื่องที่ฝังเข้าไปในร่างกายผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวที่เป็นรุนแรง ที่มีลักษณะการนำไฟฟ้าผิดปกติ ทำให้การบีบตัวของหัวใจไม่สัมพันธ์กัน เพื่อทำให้มีการนำไฟฟ้าหัวใจที่ดีขึ้น เป็นผลทำให้หัวใจทำงานบีบตัวได้ดีขึ้น สามารถทำให้อาการผู้ป่วยดีขึ้นได้
การรักษาโดยการผ่าตัด   :   การรักษาโดยการผ่าตัด คือ การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ
สาเหตุของหัวใจล้มเหลว
1.โรคหลอด เลือดหัวใจตีบโรคความดันโลหิตสูง
2. โรคหัวใจรูมาติก หรือลิ้นหัวใจพิการ โรคหัวใจเป็นแต่กำเนิด
3.โรคเยื่อหุ้มหัวใจบางชนิด โรคไตวาย
4. โรคไทรอยด์เป็นพิษ    โรคโลหิตจาง
5. การดื่มเหล้า มาก   ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ
6. โรคติดเชื้อไวรัส แบคทีเรียหรือ  วัณโรค   ได้รับยาเคมีบำบัด หรือได้รับการฉายแสง
7. โรคข้อบางชนิด   ได้รับสารพิษบางชนิด
8. โรคการนอนหลับบางชนิด
อาการ ของโรคหัวใจล้มเหลว
       อาการเหนื่อยง่าย  อาจเป็นได้ในขณะพัก  หรือ เวลาออกแรง แน่นหน้าอก  หายใจไม่ออก  นอนราบไม่ได้เวลากลางคืน  อาจต้องลุกขึ้นมาเหนื่อย หรือหายใจ หรือ ไอ ใจสั่น บวม ที่ขา หรือในช่องท้อง  จนทำให้ตับและม้ามโตได้  ถ้าเป็นนานๆ อาจอ่อนเพลียไม่มีแรง  ผอมลงได้
การตรวจวินิจฉัย
       ซักประวัติ ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคต่างๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของ โรคหัวใจล้มเหลว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน สูบบุหรี่ การดื่มเหล้า ภาวะไข้ที่เกิดจากการติดเชื้อบางอย่าง การกินอาหารเค็ม การซักประวัติ ที่เป็นอาการและภาวะกระตุ้นให้เกิด โรคหัวใจล้มเหลว
การรักษาทั่วไป :  การควบคุมรักษา ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว เช่น การรักษาความดันโลหิตสูง เบาหวาน การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยการขยายหลอดเลือดหัวใจ ด้วยบอลลูน หรือการผ่าตัดบายพาส การผ่าตัดลิ้นหัวใจ ในกรณีลิ้นหัวใจพิการ การควบคุมอัตราการเต้นหัวใจไม่ให้เต้นเร็วหรือช้า หรือผิดจังหวะการรักษาโรคไตไม่ให้เกิดภาวะบวมน้ำ เป็นต้น
การรักษาโดยการใช้ยา  :  ยากลุ่มปัสสาวะใช้ในภาวะหัวใจล้มเหลวที่มี ภาวะคั่งของเลือดหรือน้ำในร่างกายรวมทั้งภาวะบวม มักใช้ในระยะแรกๆ ของภาวะหัวใจล้มเหลวโดยเฉียบพลัน แต่ควรระมัดระวังไม่ให้ยากลุ่มนี้มากเกินไปเพราะ อาจจะทำให้เกิดภาวะไตเสื่อมสมรรถภาพลง และระดับของโซเดียมและโปรแทสเซี่ยมต่ำเกินไปได้    ยากลุ่ม ใช้ในภาวะหัวใจล้มเหลว ทุกคนของภาวะหัวใจล้มเหลว แต่มีข้อห้ามใช้บางอย่าง เช่น ภาวะไตวาย หรือมีอาการไอ หรือภาวะโปแทสเซี่ยมสูง ยา กลุ่มนี้สามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลวได้
การรักษาโดยใช้เครื่องมือพิเศษ
     การฝังเครื่องช็อคหัวใจ  :  เป็นเครื่องมือที่ใช้ฝังเข้าไปที่ตัวผู้ป่วยเพื่อทำการรักษา หัวใจเต้นผิดจังหวะซึ่งมักจะพบได้ในภาวะหัวใจล้มเหลวที่เป็นรุนแรง โดยเครื่องจะวินิจฉัยลักษณะการเต้นของหัวใจและทำการช็อคไปเองโดยอัตโนมัติ สามารถลดอัตราการเสียชีวิตโดยเฉียบพลันได้
    
การฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ CRT :  เป็นเครื่องที่ฝังเข้าไปในร่างกายผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวที่เป็นรุนแรง ที่มีลักษณะการนำไฟฟ้าผิดปกติ ทำให้การบีบตัวของหัวใจไม่สัมพันธ์กัน เพื่อทำให้มีการนำไฟฟ้าหัวใจที่ดีขึ้น เป็นผลทำให้หัวใจทำงานบีบตัวได้ดีขึ้นสามารถทำให้อาการผู้ป่วยดีขึ้นได้ ลดการนอนโรงพยาบาลและลดอัตราการเสียชีวิตได้ อุปกรณ์ชนิดนี้อาจมีการเสริม หน้าที่เป็นแบบช๊อกไฟฟ้าหัวใจได้
ชนิดของหัวใจวาย
       เราทราบกันแล้วว่าหัวใจคนเรามี สี่ห้องคือมีหัวใจ การแบ่งหัวใจวายจะแบ่งเป็นหัวใจวายห้องขวาซึ่งประกอบด้วยห้องบนขวา และหัวใจห้องล่างขวา และหัวใจวายห้องซ้ายซึ่งประกอบด้วยหัวใจห้องบนซ้ายและหัวใจห้องล่างซ้าย
หัวใจห้องซ้ายล้มเหลว
       หัวใจห้องซ้ายจะรับเลือดที่ฟอกแล้วจากปอดและจะสูบฉีดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย หัวใจข้างนี้จะแข็งแรงกว่าหัวใจห้องอื่น หากหัวใจข้างนี้วายร่างกายจะไม่สามารถสูบฉีดเลือดทำให้เลือดคั่งในปอดเกิดภาวะที่เรียกว่าน้ำท่วมปอด นอกจากนั้นยังทำให้เกิดอาการบวมที่เท้า
 หัวใจห้องขวาล้มเหลว
       หัวใจห้องขวาจะรับเลือดจากร่างกายแล้วสูบเลือดไปปอด หากหัวใจห้องขวาล้มเหลวจะทำให้เกิดอาการบวมของเท้า
สาเหตุของหัวใจวาย
       เมื่ออายุมากขึ้นการบีบตัวตัวของหัวใจก็จะลดลง หากมีภาวะที่ทำให้หัวใจทำงานมากขึ้นหรือมีการสูญเสียความสามารถในการบีบตัวของหัวใจก็จะเกิดโรคหัวใจวาย นอกจากนั้นยังมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจเช่น การสูบบุหรี่ อ้วน การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การขาดการออกกำลังกาย เหล่านี้ล้วนทำให้เกิดโรคหัวใจวายได้ หัวใจวายมีด้วยการหลายสาเหตุ บางครั้งอาจจะไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด
การปรับตัวของหัวใจเมื่อเป็นโรคหัวใจวาย
       โรคหัวใจวายเป็นโรคเรื้อรังและมีการดำเนินของโรคอยู่ตลอดเวลา หากเป็นใหม่มักจะไม่มีอาการหรือมีอาการแต่ไม่มาก เนื่องจากหัวใจมีการปรับตัวดังนี้
อาการของโรคหัวใจวาย
       ผู้ป่วยอาจจะมีอาการเล็กน้อยจึงไม่ได้ใส่ใจ บางรายเป็นขณะทำงานพอพักแล้วหาย จึงยังไม่ได้ปรึกษาแพทย์ เป็นจำนวนไม่น้อยที่มาพบแพทย์เมื่ออาการหนักมาก ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจวายควรที่จะรู้ว่ามีอาการอะไรบ้างและควรที่จะติดตามอาการเหล่านั้น หากอาการแย่ลงต้องรีบปรึกษาแพทย์อาการต่างๆทีพบได้
แพทย์จะตรวจอะไรบ้างเพื่อวินิจฉัยโรค
       การวินิจฉัยโรคหัวใจวายจะวินิจฉัยจากประวัติการหอบเหนื่อยหรืออาการบวม และจากการตรวจร่างกายผู้ป่วยที่มีอาการและแพทย์ตรวจแล้วสงสัยว่าจะมีโรคหัวใจวายแพทย์จะตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตรวจทางห้องปฏิบัติการก็เพื่อหาสาเหตุ ประเมินความรุนแรงของโรคหัวใจวาย
การรักษา
       โรคหัวใจวายเป็นโรคที่มีการทำลายกล้ามเนื้อหัวใจอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งมากพอจึงเกิดอาการของหัวใจวาย โปรดจำไว้ว่าการรักษาโรคหัวใจวายไม่ใช่การรักษาแล้วหายขาด การรักษาหัวใจวายเป็นการปรับให้ร่างกายสู่สมดุล ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น ผู้ป่วยจำเป็นต้องร่วมมือในการรักษาโดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการดำรงชีวิต
การป้องกันโรคหัวใจวาย
       โรคหัวใจเมื่อเป็นแล้วมักจะรักษาไม่หาย ดังนั้นการป้องกันก่อนการเกิดโรคหัวใจวายเรียก น่าจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุด
1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำรงชีวิตเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ เช่น การออกกำลังกาย รับประทานอาหารคุณภาพหลีกเลี่ยงอาหารมันๆ หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่เครียด งดการสูบบุหรี่ ดื่มสุราในปริมาณที่จำกัด
2.รักษาโรคที่เป็นอยู่ เช่น การรักษาโรคความดันโลหิต การรักษาโรคเบาหวาน ไขมัน หลอดเลือดหัวใจ ลิ้นหัวใจ
3.ตรวจร่างกายประจำปีก่อนการเกิดโรคหัวใจ
4.การรักษาโรคพื้นฐาน เช่น การเต้นหัวใจที่ผิดปกติ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคธัยรอยด์เป็นพิษ

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
       หัวใจเต้นผิดจังหวะถือเป็นโรคหัวใจชนิดหนึ่ง เกิดจากมีจุด หรือตำแหน่งบางตำแหน่งในหัวใจที่กำเนิดกระแสไฟฟ้าผิดปกติ หรือมีจุดวงจรลัดไฟฟ้าเล็กๆ ภายในหัวใจ เนื่องจากความผิดปกติดังกล่าวมีขนาดเล็ก จึงไม่มีผลต่อการทำงานของหัวใจ ซึ่งแตกต่างจากโรคหัวใจชนิดอื่นที่มักจะมีพยาธิสภาพขนาดใหญ่ เช่น ที่ลิ้นหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ หรือหลอดเลือดหัวใจ และพบร่วมกับการทำงานของหัวใจที่ผิดปกติ
สาเหตุของหัวใจเต้นผิดจังหวะ
       มักไม่ทราบสาเหตุเป็นส่วนใหญ่ ส่วนหนึ่งเกิดจากมีจุดกำเนิดไฟฟ้าผิดปกติที่หัวใจ หรือมีวงจรลัดไฟฟ้าผิดปกติ ซึ่งมักเป็นมาตั้งแต่เกิด แต่โดยทั่วไปมักแสดงอาการเมื่ออายุ 20-40 ปีขึ้นไป มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะกำเริบ เช่น การออกกำลังกาย แอลกอฮอล์ ชา กาแฟ ยาบางชนิด ความเครียด ความวิตกกังวล กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นต้น
อาการ
       ในรายที่ไม่มีสาเหตุร้ายแรง อาจไม่มีอาการอะไรเลย บางคนอาจเพียงแต่บ่นว่ารู้สึกใจสั่น หรือใจวูบหายเป็นครั้งเป็นคราว แต่ก็ยังสามารถทำงานได้ตามปกติ ผู้ป่วยที่มีสาเหตุจากโรคหัวใจ คอพอกเป็นพิษ หรือสาเหตุที่ร้ายแรงอื่น ๆ อาจรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น เจ็บหน้าอก หน้ามืด วิงเวียน เป็นต้น
การวินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
       ใช้การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เรียกว่า ECG หรือ อย่างไรก็ตามการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะพบความผิดปกติเมื่อผู้ป่วยมีอาการขณะตรวจ ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการขณะตรวจ อาจไม่พบความผิดปกติ ทำให้ไม่สามารถวินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ ในกรณีเช่นนี้อาจใช้การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกติดตัวตลอด 24 ชั่วโมง หรือที่เรียกว่า ซึ่งเป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดหนึ่ง
วิธีการรักษา
       การที่หัวใจห้องบนเต้นเร็ว อาจมีการนำกระแสไฟฟ้ามาที่ห้องล่าง ทำให้หัวใจห้องล่างเต้นเร็วด้วย ซึ่งส่งผลให้สูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกายลดน้อยลง ทำให้มีอาการใจสั่น เหนื่อย หน้ามืดเป็นลมได้
       คนไข้ที่มีอายุมาก และเป็นอัมพาตร่างกายครึ่งซีก และตรวจพบว่าเป็น AF มักได้รับการรักษาด้วยยาป้องกันไม่ให้เลือดแข็งตัวง่าย ซึ่งช่วยให้เลือดในหัวใจห้องบนแข็งตัวได้ยากขึ้น โอกาสเกิดลิ่มเลือดลดลง แต่การรับประทานยานี้จำต้องตรวจระดับการแข็งตัวของเลือดของคนไข้สม่ำเสมอ
การรักษาด้วยสายสวน
       ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อหาจุดในหัวใจที่ก่อให้เกิดการเต้นผิดจังหวะนี้ และใช้คลื่นความถี่สูงจี้ทำลายจุดกำเนิดไฟฟ้านี้ หัวใจก็จะเต้นจังหวะปกติ ข้อดีของวิธีนี้คือไม่ต้องมีแผลผ่าตัด ไม่ต้องดมยาสลบ ความเจ็บปวดมีน้อยมาก ข้อเสียคือ ยังเป็นวิธีที่ค่อนข้างใหม่ ทำให้เวลาที่ใช้ทำยังนานมาก อาจนานหลายชั่วโมง และผลที่ได้คือ การที่หัวใจเต้นจังหวะปกติยังได้ประมาณร้อยละ 70 ค่าใช้จ่ายยังสูง อาจมีภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายมาก เช่น ทำให้หลอดเลือดดำจากปอดที่กลับเข้าหัวใจห้องซ้ายบนตีบ บางรายอาจทำให้อวัยวะข้างเคียงได้รับบาดเจ็บที่เป็นอันตรายมากคือ หลอดอาหารทะลุทำให้มีหนองในทรวงอก เกิดการติดเชื้อรุนแรง
การรักษาด้วยการผ่าตัด
ซึ่งอาจทำได้สองวิธี คือ
     1.  การรักษาภายนอกห้องหัวใจ ไม่ต้องใช้เครื่องหัวใจและปอดเทียม อาจใช้คลื่นความถี่สูงทำให้มีแผลเป็นที่หลอดเลือดดำจากปอดทั้งสองข้าง (เพื่อให้ไม่นำกระแสไฟฟ้า) ซึ่งพบว่าจุดที่ก่อให้เกิดการเต้นผิดจังหวะนี้มักอยู่ใกล้หลอดเลือดดำจากปอด การรักษาด้วยวิธีนี้มีข้อดีคือ รอยแผลผ่าตัดเล็ก ไม่ต้องใช้เครื่องหัวใจและปอดเทียม ข้อเสียของวิธีนี้คือ ความสำเร็จได้ประมาณ 80%
     2.  การรักษาด้วยการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดโดยใช้วิธีตัดแล้วเย็บ และจี้ในห้องหัวใจบางจุดด้วยความเย็นจัด หรือใช้สายความถี่สูงจี้ภายในห้องหัวใจซีกบนเพื่อให้เกิดแผลเป็น ไฟฟ้าที่กำเนิดมาจากจุดกำเนิดจะนำไปอย่างมีระเบียบ หัวใจก็จะเต้นจังหวะปกติ ข้อดีของวิธีนี้คือได้ผลดีที่สุด คือการใช้วิธีตัดและเย็บได้ผลสำเร็จมากกว่า ร้อยละ 90 ส่วนวิธีใช้สายจี้คลื่นความถี่สูงจะได้ผลประมาณ ร้อยละ 85  แม้ว่าการผ่าตัดจะมีแผลยาวกว่าวิธีอื่น ๆ และต้องใช้เครื่องหัวใจและปอดเทียม แต่มีข้อดีที่ชัดเจนคือ อัตราตายและเกิดภาวะแทรกซ้อนไม่สูง อัตราตายประมาณ ร้อยละ 2 และอัตราเกิดภาวะแทรกซ้อนเช่นหัวใจเต้นช้า ต้องใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจแบบถาวรประมาณ ร้อยละ 5  ภาวะเลือดออกมากหลังผ่าตัดอาจพบได้ถ้าใช้วิธีตัดและเย็บ แต่ถ้าศัลยแพทย์มีความชำนาญสูง โอกาสจะมีเพียง ร้อยละ 2-3 ถ้ามีโรคหัวใจอื่นร่วมด้วย เช่น หลอดเลือดหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจพิการ ก็สามารถทำพร้อมกันอย่างปลอดภัย คนไข้ที่ได้รับการซ่อมลิ้นหัวใจ ก็จะไม่ต้องรับประทานยาป้องกันเลือดแข็งตัวง่ายไปตลอด เวลาในการผ่าตัดมักไม่เกิน 4-5 ชั่วโมง วิธีนี้ยังถือเป็นวิธีมาตรฐานในปัจจุบัน ได้ใช้มาประมาณ 10 ปีแล้ว ภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวมีน้อยมาก
อาการ  :  ในรายที่ไม่มีสาเหตุร้ายแรง อาจไม่มีอาการอะไรเลย บางคนอาจเพียงแต่บ่นว่ารู้สึกใจสั่น หรือใจวูบหายเป็นครั้งเป็นคราว แต่ก็ยังสามารถทำงานได้ตามปกติ
การรักษา
     1. ถ้ามีอาการเป็นลม ชัก หรือมีภาวะหัวใจวาย (98) ควรให้การรักษาเบื้องต้นแล้วส่งโรงพยาบาลด่วน
     2. ถ้ามีอาการวิงเวียน เจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย หรือ ชีพจรต่ำกว่า 60 ครั้งต่อนาที หรือมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที ควรแนะนำไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาล
     3.ถ้าไม่มีอาการผิดปกติอื่น ๆ และชีพจรเต้นระหว่าง 60 ถึง 100 ครั้งต่อนาที
ข้อแนะนำ
     1. ผู้ป่วยที่บ่นว่ามีอาการใจสั่น ใจหวิว อาจเกิดจากโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือสาเหตุอื่น ๆ ควรซักถามอาการ ตรวจชีพจร (ควรจับให้ได้ 1-2 นาทีเป็นอย่างน้อย) และฟังหัวใจ ถ้าชีพจรช้าหรือเร็วกว่าปกติหรือไม่สม่ำเสมอ ก็แสดงว่าเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะจริง
     2.  ชา กาแฟ บุหรี่และเหล้า อาจทำให้เกิดอาการใจสั่นหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ ถ้าเคยเป็น ควรงดเสพสิ่งเหล่านี้

หัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด
   เราสามารถแบ่งได้เป็นกลุ่มใหญ่ๆ คือ
       
1.   กลุ่มที่เด็กตัวเขียว กลุ่มนี้เกิดจากความผิดปกติทำให้มีเลือดดำไหลไปปนกับเลือดแดง ซึ่งปกติแล้ว เลือดดำจะไม่ไหลไปปนกับ เลือดแดง ทำให้เด็กมีสี ออกเขียวๆ ม่วงแดงอ่อนๆ บางรายเห็นชัดเจนเวลาที่เด็ก
          2. กลุ่มไม่เขียว กลุ่มนี้ก็มีหลายแบบด้วยกัน อาจเกิดขึ้นกับลิ้นหัวใจ (พบน้อย) หรือ ผนังกั้นห้องหัวใจปิดไม่สนิท มีรูรั่ว (พบบ่อย) ทำให้เลือดแดงไหลไปปนเลือดดำ กรณีเช่นนี้ไม่ทำให้เกิด "สีเขียว" แต่จะทำให้เลือดไปปอดมากเกินไป และ หัวใจทำงานหนัก มากขึ้นโดยไม่จำเป็น ทำให้เกิดผลเสียต่อปอดและหัวใจในอนาคต โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ จะอยู่ในกลุ่มนี้ทั้งสิ้น อาจแบ่งชนิดที่พบบ่อยๆได้เป็น
       - ผนังหัวใจห้องบนมีรูรั่ว  :  ทำให้เลือดแดงจากหัวใจห้องซ้ายบน (ซึ่งเป็นเลือดแดง ผ่านการฟอกที่ปอดแล้ว) ไหลผ่านรูรั่วมายังหัวใจห้องขวาบน (ซึ่งเป็นเลือดดำ) ผ่านลงมายังหัวใจห้องขวาล่าง และออกไปยังปอด เลือดส่วนเกินนี้หลังจากถูกฟอกที่ปอดแล้วก็จะไหลกลับมายังหัวใจห้องซ้ายบนอีกครั้ง ทำให้หัวใจรับเลือดมากขึ้นกว่าปกติ  
       - ผนังหัวใจห้องล่างมีรูรั่ว  : ทำให้เลือดแดงจากหัวใจห้องซ้ายล่าง (ซึ่งเป็น เลือดแดง ผ่านการฟอกที่ปอดแล้ว) ไหลผ่านรูรั่วมายังหัวใจห้องขวาล่าง (ซึ่งเป็นเลือดดำ) แล้วออกไปยังปอด เลือดส่วนเกินนี้หลัง จากถูกฟอกที่ปอดแล้วก็จะไหลกลับมายังหัวใจห้องซ้ายบนและลงมาที่ซ้ายล่างอีกครั้ง ทำให้หัวใจรับเลือดมากขึ้นกว่าปกติ
       - มีท่อต่อระหว่างหลอดเลือดแดงใหญ่ Aorta) กับหลอดเลือดดำที่ไปเลี้ยงปอดเลี้ยงปอด (Pulmonary artery)  :  ท่อนี้เรียกเป็น ภาษาอังกฤษว่า Patent Ductus Arteriosus หรือ PDA ก่อให้เกิดปัญหาได้เช่นเดียวกันกับ VSD และพบบ่อยมากในเด็กที่ คลอดก่อนกำหนด ส่วนใหญ่จำเป็นต้องผ่าตัดหรือแก้ไขปิดท่อดังกล่าว
การรักษา
       แต่ละชนิดมีการรักษาที่แตกต่างกันไป หากเป็นมากส่วนใหญ่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติ ในบางโรค เช่น ASD PDA อาจมีวิธีการรักษาโดยใส่อุปกรณ์บางอย่างไปปิดรูรั่ว โดยผ่านเทคนิคการสวนหัวใจ ซึ่งได้ผลดีในเด็ก แต่ก็ไม่ได้ ทำได้ทุกราย หากปล่อยให้อาการเป็นมากขึ้นแล้ว ความดันปอดสูงมากแล้ว ไม่มีการรักษาใดๆที่จะให้กลับมาเป็นปกติได้ ในกรณี เช่นนั้น การรักษาที่ดีที่สุด (ในโลกปัจจุบัน) คือ การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจและปอดไปพร้อมๆกัน ซึ่งทำได้แต่ยาก และ ไม่ค่อยมีผู้ยอม บริจาคนัก แม้จะผ่าตัดแล้วก็ยังต้องรับการรักษาไปตลอดชีวิต
อาการและอาการแสดง
       อาการและอาการแสดงของผู้ป่วยกลุ่มนี้ เขียวตามริมฝีปากเล็บ โดยความรุนแรงของอาการเขียว และอายุที่เริ่มเขียวจะเร็วหรือช้า ขึ้นกับการมีเลือดไปฟอกที่ปอดมากน้อยแค่ไหน ซึ่งแสดงถึงการมีเลือดดำปนกับเลือดแดงที่ไปเลี้ยงร่างกายมากน้อยแค่ไหน แต่ถ้า ยังไม่หมดไป ก็อาจถึงหมดสติตัวอ่อนหรือชัก เกร็งได้จากสมองขาดออกซิเจน ภาวะนี้ส่วนใหญ่มักจะหายไปเองภายใน 10-15 นาที การจัดท่านอนนั่ง ก็จะช่วยให้ผู้ป่วยสบายขึ้น หรือ หายไปได้เร็วขึ้น โดยที่จับนอนตัวงอคู้ โดยงอเข่าขึ้นชิดหน้าอกก้มหน้าให้คางต่ำลง จนกว่าจะสบายขึ้น หรือรู้ตัว ถ้ายังไม่ดีขึ้นเลยนานกว่า 15 นาที ควรรีบนำส่งรพ.ใกล้บ้าน ซึ่งจะต้องให้ oxygen, ให้ยาทางเส้นเลือด ตลอดจนให้เลือด ถ้ามีภาวะซีดร่วมด้วย ก็จะทำให้อาการดีขึ้น ถ้าเกิดขึ้นหลายครั้ง หรือเป็นรุนแรงมาก ก็อาจต้องพิจารณาผ่าตัด ซึ่งอาจเป็นผ่าตัดชั่วคราว ต่อเส้นเลือดไปที่ปอดเพื่อให้เลือดไปฟอกที่ปอดมากขึ้น หรือผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติทั้งหมด ถ้าเส้นเลือดที่ไปปอดใหญ่พอ
การวินิจฉัย
     1. Echocardiography   เป็นการตรวจพิเศษดูภายในหัวใจ และหลอดเลือด โดยใช้คลื่นเสียงเหมือนการทำ ultrasound โดยจะบอกรายละเอียดของความผิดปกติภายในหัวใจและเส้นเลือดใหญ่บริเวณใกล้หัวใจได้ เป็นวิธีการตรวจที่ทำได้รวดเร็ว และแม่นยำ โดยไม่มีข้อเสียหรืออัตราเสี่ยงใดๆ
     2. Cardiac Catheterization   เป็นการตรวจพิเศษที่ใช้สายยางเส้นเล็กๆ ใส่ผ่านหลอดเลือดเข้าไปในหัวใจและหลอดเลือด และวัดความดันและความเข้มข้นของ Oxygen ในบริเวณเส้นเลือด หรือห้องหัวใจและ X-Ray ออกมาก็จะสามารถบอกการรั่วตีบหรือตันของบริเวณนั้นๆได้ มีประโยชน์ในโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดบางชนิดที่วินิจฉัยได้ไม่ชัดเจนจาก Echocardiogram
     3. Magnetic Resonance Imaging   เป็นการตรวจความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด โดยใช้หลักการของคลื่นแม่เหล็ก มีประโยชน์เฉพาะในบางรายเท่านั้น ข้อจำกัดในขณะนี้คือ ยังมีราคาแพงมีเฉพาะในสถาบันใหญ่ๆ บางแห่ง ตลอดจนต้องการผู้เชี่ยวชาญในการทำ และแปลผล
การผ่าตัด
     1. การผ่าตัดช่วยเหลือชั่วคราว : โดยในกลุ่มนี้มักเป็นการต่อเส้นเลือดไปปอด เพื่อให้มีเลือดไปฟอกที่ปอดมากขึ้น ผู้ป่วยจะรู้สึกสบายขึ้น เขียว เหนื่อยน้อยลง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มักเป็นการซื้อเวลารอให้เส้นเลือดที่ไปปอดหรือตัวผู้ป่วยเด็กโตขึ้น
     2.การผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติภายในหัวใจทั้งหมด ในขณะนี้สามารถทำได้ในสถาบันใหญ่ๆ หลายแห่ง โดยมีอัตราเสี่ยงของการผ่าตัดน้อยลงตามลำดับ
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะสมองขาดเลือดไปเลี้ยง :  มักพบในผู้ป่วยเด็กเล็ก โดยเฉพาะอายุน้อยกว่า 2 ปีที่มีอาการเขียวมาก เลือดข้นมาก มักจะเกิดตามหลังภาวะที่ทำให้เลือดหนืดมากขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น การขาดน้ำอย่างรุนแรงจากการท้องเสีย เป็นต้น

ภาวะฝีในสมอง  : เกิดจากในภาวะเขียวจะมีเชื้อโรคซึ่งปกติจะถูกกรองออกเพื่อผ่านไปปอด ผ่านไปเลี้ยงที่เส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมองโดยตรง ทำให้เกิดการติดเชื้อที่สมองขึ้น

ภาวะติดเชื้อในหัวใจ  :  พบเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดได้เกือบทุกชนิด โดยเกิดขึ้นได้จากการที่มีความผิดปกติภายในหัวใจทำให้เกิดการไหลเวียนของเลือดเปลี่ยนไป เกิดการไหลพุ่งเป็นลำที่มีความเร็วสูงไปกระแทกเยื่อบุภายในหัวใจ เกิดเป็นลักษณะคล้ายแผลถลอก เมื่อร่างกายมีภาวะติดเชื้อในเลือดขึ้น เช่น ถอนฟัน เชื้อโรคภายในช่องปากก็จะเข้าไปในกระแสเลือดทางแผลไปติดและก่อให้เกิดการติดเชื้อภายในหัวใจ

กลุ่มเลือดไปปอดมาก กลุ่มที่เลือดไปปอดมาก แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ
       1. มีเลือดดำและเลือดแดงปนกัน
       2 มีการสลับที่ของเส้นเลือดดำและเส้นเลือดแดงใหญ่

กลุ่มที่มีเลือดดำและเลือดแดงปนกัน
       เกิดจากมีเลือดดำและเลือดแดงปนกันในบางแห่งของห้องหัวใจก่อนที่ไปเลี้ยงร่างกาย โดยไม่มีการตีบแคบของเส้นเลือดที่ไปฟอกที่ปอด ดังนั้นผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะมีเลือดไปปอดมากกว่าปกติ
อาการและอาการแสดง
       ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะมีเขียวไม่มาก และที่สำคัญจะมีลักษณะอาการของหัวใจวาย เช่น หายใจเร็ว เหนื่อยง่าย เหงื่อมาก เลี้ยงไม่โต ตับโต หัวใจเต้นเร็ว และหัวใจโตจะเริ่มมีได้ตั้งแต่อายุ 4-6 สัปดาห์ จะไม่มีอาการที่ขาดออกซิเจนเฉียบพลัน นิ้วก็จะปุ้มไม่มาก พัฒนาการทางด้านที่ต้องใช้กล้ามเนื้อจะช้ากว่าปกติ เพราะมีเหนื่อยง่าย
การวินิจฉัย  :  ทำได้เหมือนในกลุ่มที่มีเลือดไปปอดน้อย
การรักษาภาวะหัวใจวาย  :   รักษาภาวะหัวใจวายโดยใช้ยา เช่น ยาช่วยการทำงานของหัวใจ ยาขับปัสสาวะ เช่น ยาขยายหลอดเลือด l เป็นต้น การรักษาประคับประคองอื่นๆ เช่น รับประทานอาหารที่มีความเค็มน้อยแก้ไขภาวะซีดให้ออกซิเจน ถ้าจำเป็นก็จะช่วยได้มาก
การผ่าตัด
     1.การผ่าตัดช่วยเหลือชั่วคราว
     2.การผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติทั้งหมดภายในครั้งเดียว โรคหัวใจในแต่ละชนิด ก็จะมีช่วงเวลาที่เหมาะสมในการผ่าตัดแตกต่างกัน
ภาวะแทรกซ้อน :  มีฝีในสมอง การติดเชื้อในหัวใจและหลอดเลือดดังกล่าวแล้ว ข้างต้น นอกจากนี้ยังมีภาวะความดันในปอดสูงถาวร

กลุ่มที่มีการสลับกันของเส้นเลือดดำ และเส้นเลือดแดงใหญ่
       จัดเป็นกลุ่มที่มีเลือดไปปอดมากและเขียวมาก มักจะเห็นเขียวตั้งแต่กำเนิด เพราะเลือดดำจะออกจากหัวใจซีกขวาและไปเลี้ยงร่างกาย แล้วกลับมาเข้าหัวใจซีกขวาใหม่ เลือดแดงจะออกจากหัวใจซีกซ้ายไปฟอกที่ปอดแล้วกลับมาสู่หัวใจซีกซ้ายใหม่ วนเวียนกันอยู่แบบนี้ ผู้ป่วยจะเขียวมากจนไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ถ้าไม่มีช่องทางปนกันของเลือดดำกับเลือดแดง
อาการและอาการแสดง :  ตัวเขียวจะเป็นอาการนำที่สำคัญที่สุด และมักจะเขียวมาก เหนื่อยง่าย อาการของภาวะหัวใจวาย
การวินิจฉัย   ทำได้เหมือนในกลุ่มที่มีเลือดไปปอดน้อยและเลือดไปปอดมากดังกล่าวแล้ว
การให้ยา :  การให้ยาเพื่อเปิดเส้นเลือดให้คงการปนกันของเลือดดำกับแดง (Prostaglandin E1) ซึ่งจำเป็นในรายที่ไม่มีช่องทางติดต่อระหว่างเลือดดำกับเลือดแดงหรือมีไม่เพียงพอ
การผ่าตัด  :  การผ่าตัดในปัจจุบันมีการผ่าตัดโดยการสลับเส้นเลือดดำกับแดงให้กลับสู่ปกติ ซึ่งจากการติดตามผลมานานประมาณ 10 ปี พบว่ามีผลดี อัตราเสี่ยงของการผ่าตัดโดยทั่วไปจะน้อยกว่า 5% ภาวะแทรกซ้อน   ในกลุ่มนี้ เหมือนในกลุ่มที่เลือดไปปอดมาก

โรคกล้ามเนื้อหัวใจ
โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
       โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ มักเกิดในเด็กเล็กๆ ร่วมกับการติดเชื้อในระบบอื่นๆ เช่น ระบบทางเดินหายใจ ปอดอักเสบ ไข้หวัด เชื้อไวรัส เป็นสาเหตุของการเกิดอักเสบโดยเฉียบพลันมากกว่าสาเหตุอื่น แต่เชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น โรคคอตีบไข้รากสาด ทำให้เกิดการอักเสบที่กล้ามเนื้อหัวใจได้ ปัจจุบันพบร่วมกับผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์และมีการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจร่วมด้วย
พยาธิกำเนิด
       เชื่อว่าเกิดจากกลุ่ม ไวรัส B ทำให้เกิดการกระตุ้น ระบบอินมูนมี ปฏิกิริยาเกิดการอักเสบขึ้นร่วมกับ มีการกระจายของเชื้อไวรัสเข้าไปทำลายเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ และเป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้กลายไปเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจไม่ทราบสาเหตุชนิด ที่มีหัวใจโต ห้องหัวใจบาง ขณะนี้มีการศึกษามากมายโดยอาศัยตรวจหา เชื่อไวรัส ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคนี้ร่วมกับการศึกษาทาง อินมูน พบว่ามีการหลั่งเอ็นไซด์ เป็นสาเหตุทำให้เกิดการทำลายของกล้ามเนื้อหัวใจ จึงทำให้มีการศึกษาการรักษาโดยใช้ยาต่อต้านภูมิคุ้มกัน
การวินิจฉัย  :  เนื่องจากอาการระยะแรกอาจจะไม่มีอาการชัดเจนเริ่มจากการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ต่อมามีอาการหอบเหนื่อย หายใจเร็วจนถึงภาวะไหลเวียนโลหิตล้มเหลว ควรต้องแยกโรคจากโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคหลอดเลือดโคโรนารีพิการแต่กำเนิด โรคติดเชื้อในหัวใจ
การรักษา  เนื่องจากการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจลดลง ขนาดของหัวใจโตขึ้นและมีภาวะน้ำคั่งในปอด การรักษาภาวะหัวใจวายประกอบด้วย
การใช้ยาอิมมูโนโคลบูลิน  :  การใช้ยาอิมมูโนโคลบูลินในการรักษาการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ จากการศึกษาพบว่าพยาธิกำเนิดของโรคนี้ เกิดจากการมีปฏิกิริยาของระบบอิมมูชั่นและจากการ ใช้ยาตัวนี้ ใน โรคคาวาซากิ ( Kawasaki disease ) มีผลการรักษาดี สามารถเพิ่มการทำงานของหัวใจดี
การใช้ยาต่อต้านระบบอินมูน  :  การใช้ยาต่อต้านระบบอินมูน ( Immunosuppressive) เช่น cyclosporin, azathioprine ร่วมกับ prednizolone และ aspirin ในผู้ป่วยที่เป็น โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเรื้อรัง (chronic myocarditis) หรือกลุ่มที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจไม่ทราบสาเหตุ จากระยะเวลา 3-6 เดือน มีรายงานพบว่า อาการทางคลินิกและผลการตรวจทางชิ้นเนื้อ ดีขึ้นมากกว่า 60-70 เปอร์เซ็นต์ และใช้เป็นยารักษาในผู้ป่วยที่รอการทำเปลี่ยนถ่ายหัวใจ ร่วมกับการใช้ยารักษาภาวะหัวใจวาย

       โรคกล้ามเนื้อหัวใจที่ไม่ทราบสาเหตุ
       หมายถึง โรคหัวใจที่มีพยาธิสภาพของกล้ามเนื้อ หรือมีการเสื่อมสมรรถภาพในการทำงานของกล้ามเนื้อ อันเป็นปัญหาให้ผู้ป่วยมารับการตรวจวินิจฉัย และได้ตรวจหาสาเหตุแล้วมิได้เป็นผลมาจากมีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
       โรคกล้ามเนื้อหัวใจไม่ทราบสาเหตุแบ่งเป็น 3 กลุ่ม โดยอาศัย อาการและอาการแสดงร่วมกับพยาธิวิทยาแต่ละกลุ่ม ซึ่งจะมีอาการและอาการแสดงคล้ายคลึงกัน และในบางครั้งอาจจะไม่สามารถจัดแยกเป็นกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้โดยเฉพาะ และสามารถเปลี่ยนลักษณะมาเป็นอีกกลุ่มหนึ่งได้
               1.โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ผิดปกติ
               2.โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดที่มีกล้ามเนื้อหัวใจหนาโดยไม่ทราบสาเหตุ
               3.โรคกล้ามเนื้อหัวใจที่เกิดจากเยื่อบุชั้นในของหัวใจหนามากกว่าปกติ

โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ผิดปกติ
       โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ผิดปกติ เป็นกลุ่มที่พบบ่อยที่สุดแม้จะทราบสาเหตุ แต่เชื่อว่าน่าจะมีสาเหตุมาจากหลายอย่างอันเป็นผลให้มีการทำลายของกล้ามเนื้อหัวใจ มีผู้สงสัยว่าสาเหตุส่วนใหญ่จะเกิดจากเชื้อไวรัส
การวินิจฉัย
       ต้องแยกสาเหตุของโรคหัวใจวายจากสาเหตุอื่นๆ โดยเฉพาะในเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดโรคการอักเสบเฉียบพลันของกล้ามเนื้อหัวใจจากเชื้อไวรัส) , โรคพิการแต่กำเนิดของหลอดเลือดโคโรนารี ซึ่งการวินิจฉัยแยกโรค ต้องใช้เครื่องมือตรวจคลื่นสะท้อนหัวใจ และการตรวจชิ้นเนื้อจากหัวใจ วินิจฉัยจากลักษณะทางพยาธิวิทยาของชิ้นเนื้อ และในบางรายต้องทำการตรวจสวนหัวใจ ฉีดสีเพื่อดูหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ
หลักสำคัญ
       การรักษาภาวะหัวใจวาย โดยใช้ยาขับปัสสาวะ ยาเพิ่มการกระตุ้นการบีบหัวใจ และปัจจุบันยาขยายหลอดเลือดในกลุ่มของ ACE inhibitor จะช่วยทำให้อาการดีขึ้นและทำให้ชีวิตยืดยาวขึ้นได้ส่วนการรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ เป็นวิธีเดียวที่ได้ผลดีโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีโรคลุกลามไปมากแม้จะใช้ยารักษาหัวใจวายอย่างเต็มที่

โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดที่มีกล้ามเนื้อหัวใจหนาโดยไม่ทราบสาเหตุ
       โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดที่มีกล้ามเนื้อหัวใจหนาโดยไม่ทราบสาเหตุ ผู้ป่วยในกลุ่มนี้มักพบในวัยหนุ่มสาวที่เสียชีวิตกะทันหันโดยไม่ทรายสาเหตุ และมักเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม
พยาธิวิทยา
       จะพบว่ากล้ามเนื้อของห้องหัวใจล่างซ้ายและขวาหนาตัวมาก โดยเฉพาะบริเวณผนังกั้นห้องหัวใจล่าง และจะยื่นเข้าไปในช่องล่างของหัวใจจนชนกับลิ้นหัวใจด้านซ้าย ทำให้มีการอุดกั้นของเลือดจากห้องซ้ายล่างออกสู่หลอดเลือดแดงใหญ่ไปเลี้ยงร่างกาย นอกจากนี้ความหนาของกล้ามเนื้อของหัวใจยังยับยั้งการคลายตัวของห้องหัวใจล่าง
ลักษณะทางคลินิก
       ผู้ป่วยมักจะมาด้วยการเสียชีวิตกะทันหัน ขณะออกกำลังกายเชื่อสาเหตุเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะร้ายแรงหรือการปิดกั้นของเลือดจากผนังที่หนาของหัวใจห้องล่าง ทำให้เลือดไปเลี้ยงร่างกายและหลอดเลือดโคโรนารีลดลง
การวินิจฉัย
       ควรนึกถึงโรคนี้เมื่อมีประวัติเสียชีวิตกะทันหันของสมาชิกในครอบครัว การตรวจภาพรังสีทรวงอก หรือการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจไม่สามารถบอกได้ การตรวจภาพคลื่นสะท้อนหัวใจที่ช่วยการวินิจฉัย โดยจะพบผนังของห้องล่างของหัวใจซ้ายและขวารวมทั้งผนังกั้นห้องหนาตัวกว่าปกติ
การรักษา
       เนื่องจากกลไกของการเสียชีวิตกะทันหัน เกิดจากการเต้นผิดจังหวะของหัวใจ และการไหลเวียนโลหิตที่ถูกปิดกั้นจากผนังที่กั้นห้องหัวใจที่หนาผิดปรกติ การรักษาจำเป็นต้องแนะนำการห้ามออกกำลังการชนิดรุนแรง

โรคกล้ามเนื้อหัวใจที่เกิดจากเยื่อบุชั้นในของหัวใจหนามากกว่าปกติ
       โรคกล้ามเนื้อหัวใจที่เกิดจากเยื่อบุชั้นในของหัวใจหนามากกว่าปกติ พบในเด็กเล็กและโต เดิมพบโรคนี้ในประเทศอาฟริกา อเมริกาใต้และเอเชีย
การรักษา
       การใช้ยารักษาอาการหัวใจวายเช่นเดียวกับโรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ แต่ต้องระมัดระวังการใช้ยาปัสสาวะ อาจจะทำให้เลือดออกจากหัวใจได้น้อย เพราะปริมาณน้ำถูกขับออกจากผลของยา การผ่าตัด ลอกเอาเยื่อบุของหัวใจที่หนา มักจะได้ผลดี ร่วมกับซ้อมแซมลิ้นหัวใจซีกซ้ายรั่ว ผู้ป่วยเด็กเล็กที่มีพังผืดหนาเยื่อบุหัวใจชิ้นในสุดมักจะเป็นทั่วๆไปทุกห้องหัวใจ จึงไม่สามารถผ่าตัดเลาะออกได้

 โรคหลอดเลือดหัวใจ
       กล้ามเนื้อหัวใจก็เหมือนกับอวัยวะอื่นที่ต้องการเลือดแดงมาเลี้ยงหลอดเลือดที่หล่อเลี้ยงหัวใจเรียกว่า  หลอดเลือดแดงโคโรนารี  ซึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ  3-4  มิลลิเมตร  แตกแขนงออกจากส่วนต้นของหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ตา (aorta)  บริเวณนั้นมักเรียกว่า  ขั้วหัวใจ
หลอดเลือดโคโรนารีนี้มีสองเส้นใหญ่ ๆ คือ  เส้นเลือดแดงทางด้านซ้าย  และทางด้านขวา หลอดเลือดหัวใจที่ว่านี้จะอยู่ที่ผิวด้านนอกของหัวใจ แตกแขนงห่อหุ้มทุกตารางนิ้วของหัวใจ
       ผนังด้านในของหลอดเลือดโคโรนารีถูกครอบคลุมด้วยเซลล์บุผิวขนาดเล็ก ๆ เรียกว่า  เอนโดทีเลียม ดูราวกับปูด้วยกระเบื้องอย่างดี   เซลล์เอนโดทีเลียมเหล่านี้ มีหน้าที่สำคัญมาก  อาทิเช่น  จะหลั่งสารที่สำคัญหลายชนิด  คอยป้องกันไม่ให้หลอดเลือดอุดตันจากเกร็ดเลือดและคราบไขมัน ราวกับการเคลือบน้ำยาอย่างดี ทั้งยังมีสารที่ช่วยให้เกิดการขยายตัวของเส้นเลือดทำให้การไหลเวียนดีขึ้นอีกด้วย
อาการของหัวใจขาดเลือด
       เจ็บจี๊ด ๆ เจ็บเวลาหายใจ เหมือนถูกอะไรทิ่มแทง  จะใช่อาการของโรคหัวใจขาดเลือดหรือไม่?
อาการปวดหัวใจที่ว่านี้  เกิดจากการที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดออกซิเจนมาเลี้ยง  ทำให้เซลล์หัวใจเกิดการทำงาน ออกกำลังหนัก ๆ แล้วปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ  โดยสรุปอาการปวดหัวใจจึงมีลักษณะดังนี้
1. ปวดแน่นตื้อ ๆ หนัก ๆ
2. บอกตำแหน่งได้ไม่ชัดเจน
3. ปวดร้าวไปบริเวณแขนและกราม
4. เป็นมากเมื่อออกกำลัง พักแล้วดีขึ้น
5. มีอาการอื่น ๆ ร่วม เช่น เหงื่อแตก หน้าซีด ใจสั่น

การตรวจวินิจฉัยภาวะหัวใจขาดเลือด   :  การวินิจฉัย และการเลือกชนิดของการตรวจ เช่น การตรวจคลื่นหัวใจ( ECG )


โรคหัวใจรูมาติก
       โรคหัวใจรูมาติกเป็นโรคหัวใจที่ไม่ได้เป็นมาแต่กำเนิด แต่มักพบในเด็กโดยที่บางครั้งเด็กไม่มีอาการชัดเจน มาทราบอีกครั้ง เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว พบว่าเกิดลิ้นหัวใจพิการขึ้น จัดว่าเป็นสาเหตุของโรคลิ้นหัวใจพิการ(ตีบ รั่ว) ที่พบบ่อยที่สุดในประเทศไทย
สาเหตุ  โรคนี้เริ่มต้นจากการติดเชื้อคออักเสบ หรือ ต่อมทอนซิลอักเสบ จากเชื้อโรคที่ชื่อ เบต้าสเตรปโต
การรักษา
   เราอาจแบ่งหลักการรักษาออกได้เป็น
          1. รักษาการติดเชื้อ เบต้าสเตรปโตคอคคัสกลุ่ม เอ โดยใช้ยาฆ่าเชื้อ (ยาปฏิชีวนะ)
          2. ลดการอักเสบที่เกิดขึ้นต่อทุกระบบ ยาที่ได้ผลดีมากที่สุดคือ แอสไพริน ในขนาดสูง
          3. หากเกิดลิ้นหัวใจพิการขึ้นแล้ว ไม่ว่าจะตีบหรือรั่ว ก็ไม่หายขาด

การป้องกัน 
       อย่างที่กล่าวแล้วว่าไม่ใช่ทุกคนที่ติดเชื้อ เบต้าสเตรปโตคอคคัสกลุ่ม เอ จะเกิดโรคหัวใจรูมาติก เราไม่ทราบว่าผู้ใดจะเกิดบ้าง หลักการป้องกันที่สำคัญคือ
1. หลีกเลี่ยงการติดเชื้อ นั่นคือไม่เข้าใกล้ชิดผู้ป่วยคออักเสบ ไข้หวัด
2. หากติดเชื้อเกิดคออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบจาก เบต้าสเตรปโตคอคคัสกลุ่ม เอ จะต้องรักษาให้ครบ รับประทานยาฆ่าเชื้อให้ครบ 7-10วัน
3. หากเกิดการอักเสบที่หัวใจขึ้นแล้ว หรือ เคยเป็นกลุ่มอาการของโรคหัวใจรูมาติกแล้ว มีโอกาสเป็นซ้ำ และทุกครั้งที่เป็นซ้ำ ความ ”พิการของลิ้นหัวใจจะมากขึ้น         
4. การป้องกันโรคนี้ให้ได้ผลดีต้องอาศัยการพัฒนาทางสังคมควบคู่ไปด้วย

อาการของโรคหัวใจรูมาติก   :   โดยทั่วไปมักไม่ทำให้เกิดอาการ แต่ถ้ามีอาการ  อาการจะเป็นดังนี้  เจ็บหน้าอก ใจสั่น ปวดหน้าอก บวม
การวินิจฉัย    :     การเจาะเลือดเพื่อดูว่าเคยมีการติดเชื้อหรือไม่เอกซเรย์ปอดเพื่อดูว่ามีหัวใจโตหรือน้ำท่วมปอดหรือไม่ อัลตราซาวน์หัวใจเพื่อดูว่ามีห้องหัวใจโตหรือมีการบีบตัวของหัวใจที่ผิดปกติหรือไม่การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อดูว่ามีห้องหัวใจโต หรือมีจังหวะการบีบตัวของหัวใจที่ผิดปกติ
การรักษา   :    นอนโรงพยาบาล การฉีดยาปฏิชีวนะ เพื่อลดการติดเชื้อที่ยังคงหลงเหลืออยู่ ยาสเตอรอยด์เพื่อลดการทำลายที่ลิ้นหัวใจ การผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจ การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียม  ซึ่งคุณอาจต้องรับประทานยาป้องกันลิ่มเลือดไปจนตลอดชีวิต
การป้องกันภาวะแทรกซ้อน
       ไปตามนัดแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อตรวจอาการของโรคหัวใจของคุณ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ รักษาฟัน เพราะแบคทีเรียที่มาจากช่องปากสามารถเพิ่มภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นกับหัวใจของคุณครับยาปฎิชีวนะ ก่อนที่จะผ่าตัดรักษาอะไรก็ตาม เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่หัวใจ
การป้องกัน  :  โรคหัวใจรูมาติกเกิดขึ้นมาจากการที่ไม่ได้รับการรักษาไข้รูมาติก  ดังนั้นการได้รับวินิจฉัยที่ทันจะสามารถช่วยป้องกันโรคหัวใจรูมาติกได้   และการรักษานั้นก็คือการได้รับยาปฏิชีวนะขนาดน้อยๆเป็นระยะเวลาที่นาน อาจเป็นระยะเวลา 3-5 ปีเพื่อที่จะป้องกันไข้รูมาติกไม่ให้เกิดซ้ำใหม่ได้

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหัวใจที่ไม่สามารถป้องกันได้
1. หัวใจเต้นผิดจังหวะ
        หัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจเต้นเร็วมาก ช้ามาก หรือหยุดเต้นไปเลย โชคดีที่อันหลังนี้พบได้น้อยมาก สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของระบบการเต้นของหัวใจเอง ปกติหัวใจเราจะเต้นได้จากการมีตัวให้สัญญาณจากนั้นก็มีการส่งต่อสัญญาณนี้ไปยังส่วนต่างๆของหัวใจ เพื่อให้การเต้นของหัวใจเป็นจังหวะก่อนหลัง เพื่อการไหลเวียนเลือดที่ต่อเนื่องคล้ายกับมีสายไฟฟ้า ที่รับสัญญาณมาจากโรงงานผลิตไฟฟ้าอีกทอดหนึ่ง ถ้าสัญญาณช้าหัวใจก็เต้นช้า ถ้าตัวส่งสัญญาณผิดปกติ หรือทางเดินไฟฟ้าผิดปกติ ซึ่งเป็นผลมาจากความผิดปกติในโครงสร้างของหัวใจเองมาตั้งแต่เกิด
2. อาการไอเป็นเลือด
        อาการไอเป็นเลือด ฟัง อาการนี้จะพบเฉพาะโรคหัวใจชนิดเขียว และเป็นเด็กโตหรือผู้ใหญ่ โดยเวลาไอบางครั้งมักมีเลือดปนกับเสมหะออกมา น้อยครั้งที่จะไอเป็นเลือดสดๆ ขนาดถึงกับต้องให้เลือดกันเกิดได้จากการที่มีเส้นเลือดฝอยในปอดแตก เนื่องจากการที่หลอดเลือดแดงที่ปอดจะพยายามขยายตัวให้พองใหญ่ขึ้น เพื่อเพิ่มจำนวนเลือดที่ไปฟอกที่ปอดให้เพียงพอ เส้นเลือดพวกนี้มักจะขยายใหญ่ และคดเคี้ยวไปมา มีผนังบางลงจนอาจแตกออกมาได้ ถ้าสามารถรักษาต้นเหตุของโรคหัวใจชนิดนั้นได้ อาการนี้ก็จะหายไป หรือถ้าได้รับการผ่าตัดโรคหัวใจในเวลาที่เหมาะสม ก็อาจไม่เกิดภาวะนี้ขึ้นเลย
3. หลอดเลือดในสมองอุดตัน
       สมองบางส่วนขาดเลือดไปเลี้ยง เพราะโรคหัวใจชนิดเขียว และมักเป็นเด็กเล็กๆ 2-3 ปีแรก มีอาการแขนขาอ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่ง ปากเบี้ยวหรือหลับตาไม่สนิท อาจเกิดจากภาวะโลหิตจางเกินไป หรือเลือดข้นมากเกินไปจนอุดตันหลอดเลือดขนาดเล็กบางส่วนของสมอง
4. อาการเป็นลมตัวอ่อน
        อาการเป็นลมตัวอ่อน หรือหมดสติไปชั่วครู่ พบเฉพาะในเด็กโรคหัวใจ ชนิดเขียวเท่านั้น โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีเลือดไปฟอกที่ปอดได้น้อยผิดปกติ

บทสรุป
       โรคหัวในในผู้ใหญ่นั้นมีหลายชนิด บางชนิดเรียกได้ว่าไม่มีอาการอันเป็นแก่นสาร หรือไม่มีอันตราย บางชนิดก็ร้ายแรงเป็นอันตราย    โรคหัวใจก็เช่นเดียวกับโรคอื่น ๆ คือ ชนิดที่รักษาแล้วหายขาดนั้น มีจำนวนน้อย แต่ชนิดที่รักษาแล้วดีขึ้น แต่ไม่หายขาดนั้นมีเป็นจำนวนมาก การกินยาและการระวังรักษาตนเองโดยสม่ำเสมอ จึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะสำหรับโรคที่ต้องรักษากันเป็นเวลานาน ๆ หรือตลอดชีวิต โดยทั่วไปแล้ว ผู้ป่วยโรคหัวใจที่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องจากหมอและจากการรักษาตัวเองที่ดี จะสามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างค่อนข้างจะสะดวกสบาย ไม่ต้องทุกข์ทรมานเหมือนผู้ป่วยด้วยโรคระบบอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น