ตับเป็นอวัยวะที่สำคัญมาก มีหน้าที่หลายอย่าง เช่น การสร้างน้ำดี ช่วยย่อยอาหารประเภทไขมัน เก็บสำรองอาหาร โดยการเก็บ glucose ไปสะสมไว้ในเซลล์ตับ ในรูปของ glucogen และเมื่อร่างกายต้องการใช้ ก็จะทำการเปลี่ยน glucogen มาเป็น glucose ตับเป็นแหล่งสะสมวิตามินต่างๆ เช่น วิตามินเอ ดี และบี12 นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่ขจัดสารพิษที่ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ตับยังทำหน้าที่สร้าง วิตามินเอ จากสารแคโรทีน ซึ่งมีสะสมอยู่ในพวกแครอทและมะละกอ สร้างธาตุเหล็ก ทองแดง และยังสร้างสารป้องกันการแข็งตัวของเลือด นอกจากนี้ยังทำหน้าที่กินและทำลายเชื้อโรค และเป็นแหล่งให้พลังงานความร้อนแก่ร่างกายจะเห็นได้ว่าตับทำหน้าที่สำคัญมากมายให้แก่ร่างกายเรา ฉะนั้นหากเซลล์ตับถูกทำลายหรือเสื่อมสภาพไป ก็จะมีผลเสียแก่สุขภาพของเรา เราจึงควรหมั่นตรวจสอบสมรรถภาพของตับอย่างสม่ำเสมอ
โรคตับอักเสบ หมายถึง โรคที่เซลล์ของตับมีการอักเสบเกิดขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากการแพ้สารพิษ หรือการติดเชื้อจุลชีพ หรือติดเชื้อไวรัส ปัจจุบันพบว่าส่วนใหญ่ติดเชื้อจากไวรัส ตับจะบวมโต ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บแน่นบริเวณตับ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เหนื่อยง่าย บางรายจะมีไข้ต่ำๆ คลื่นใส้ และอาเจียน บางรายตัวเหลือง ตาเหลือง ในขณะที่บางรายไม่แสดงออกทางอาการเลยต้องทำการเจาะเลือดเท่านั้นจึงจะรู้
หน้าที่ของตับ
ตับมีหน้าที่สำคัญหลายประการ อันได้แก่การสร้างน้ำดี ซึ่งออกมาในลำไส้ ช่วยให้อาหารประเภทไขมันถูกย่อยและดูดซึมง่ายขึ้น เก็บสำรองอาหาร โดยเก็บเอากลูโคส ไปสะสมไว้ในเซลล์ตับในสภาพของไกลโคเจน และจะเปลี่ยนไกลโคเจนกลับออกมาเป็นกลูโคสในกรณีที่ร่างกายต้องการใช้ได้ทันที สะสมวิตามินเอ ดี และวิตามินบีสิบสอง นอกจากนี้ยังกำจัดสารพิษที่ลำไส้ดูดซึมเข้าไปในกระแสเลือด เมื่อสารพิษผ่านตับ ตับก็จะทำลาย สารพิษบางชนิดตับทำลายไม่ได้ตรงกันข้ามจะไปทำลายเซลล์ตับ ด้วย ตับเป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของร่างกายทำหน้าที่สำคัญมากมาย ถ้าเซลล์ตับถูกทำลายเสื่อมสภาพไปจะมีผลต่อสุขภาพ อย่างไรก็ตามตับเป็นอวัยวะที่มหัศจรรย์ในร่างกายแม้ว่ามีเซลล์ตับที่ดีเหลืออยู่เพียงร้อยละ ๑๐-๑๕
ประเภทของโรคตับอักเสบ
โรคตับอักเสบมี 2 ชนิด
1. โรคตับอักเสบเฉียบพลัน [acute hepatitis] หมายถึงโรคตับอักเสบที่เป็นไม่นานก็หาย ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการ 2-3 สัปดาห์โดยส่วนมากไม่เกิน 2 เดือน ผู้ป่วยส่วนใหญ่หายขาดแต่จะมีบางส่วนเป็นตับอักเสบเรื้อรัง และบางรายอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตเลยก็เป็นได้
ระยะอาการนำ อาการที่พบ เช่น อ่อนเพลีย มีไข้ปวดศรีษะ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดกล้ามเนื้อ บางรายมีอาการคล้ายไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ เบื่ออาหาร บางครั้งคลื่นไส้ เวียนหัวอาเจียน ผู้ป่วยบางคนอาจจะเจ็บและปวดท้องบริเวณชายโครงขวา และอาจมีท้องเสียได้ นอกจากนั้นจะมีปัสสาวะสีเหลืองเข้มผิดปกติ เป็นต้น
ระยะอาการเหลือง คือ ระยะที่เรียกว่า“ดีซ่าน” ผู้ป่วยตาจะเหลือง ฝ่ามือเหลือง หรือ ตัวเหลือง พบอาการอ่อนเพลีย คล้ายๆหมดแรง บางครั้งจะเบื่ออาหาร คลื่นไส้
ระยะฟื้นตัว คือ ระยะที่ผู้ป่วยอาจยังอ่อนเพลียอยู่บ้าง แต่อาการข้างต้นที่มีจะเริ่มหายไปแล้ว และร่างกายเริ่มหายเหลืองโดยทั่วไป ระยะเวลาของการป่วยนาน 2 ถึง 4 สัปดาห์ จนถึง 8 ถึง12 สัปดาห์
2. โรคตับอักเสบเรื้อรัง [chronic hepatitis] หมายถึง โรคตับอักเสบที่เป็นนานมากกว่า 6 เดือน จะแบ่งเป็น
2.1 chronic persistent เป็นการอักเสบของตับแบบค่อยๆเป็นค่อยๆไปและไม่รุนแรงมากนัก แต่อย่างไรก็ตามโรคสามารถจะทำให้ตับมีการอักเสบขึ้นได้
2.2 chronic active hepatitis มีการอักเสบของตับมาก ตับจะถูกทำลายและทำให้เกิดตับแข็ง
สาเหตุของโรคตับอักเสบ
1. เชื้อไวรัส มีหลายชนิด ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบ เอ ,บี,ซี,ดี,อี
2. เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
3. ยาบางชนิด เช่น ยารักษาวัณโรค halothane, isoniazid, methyldopa, phenytoin ผู้ป่วยหากได้acetaminophen ในขนาดสูงมากก็สามารถทำให้ตับถูกทำลายได้
4. เชื้อโรคบางชนิด เช่น ไทฟอยด์,มาลาเรีย โรคนี้มีชื่อเดิมอยู่หลายชื่อ เช่น ตับอักเสบที่มีเชื้อติดต่อได้ ตับอักเสบชนิดระบาด ตับอักเสบที่ติดต่อทางการกิน การระบาดของโรคตับอักเสบ เอ ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ การระบาดในทหารและพลเรือนในประเทศเยอรมนี ในปี พ.ศ.2483 แมกคัลลัม ได้เสนอให้เรียกชื่อกันใหม่ว่า ตับอักเสบจากเชื้อไวรัสเอซึ่งเป็นชื่อที่เรียกกันมาจนกระทั่งปัจจุบัน
สาเหตุ : เกิดจากการรับเชื้อเข้าไปทางปากจากการรับประทาน เช่น อาหารสดไม่ผ่านการทำให้สุก หรือ น้ำดื่มที่ไม่ได้ต้ม หรือแม้แต่ที่ปนเปื้อนของเชื้อบางครั้งจึงพบมีการระบาด ในชุมชน กลุ่มคนที่อยู่รวมกัน เช่น โรงเรียน หอพัก ค่ายทหาร
วิธีติดต่อ : เชื้อจะเข้าสู่ทางปาก จากนั้นเชื้อจะไปอยู่ในอุจจาระของคน โรคนี้มักจะเกิดจากการปนเปื้อนของเชื้อในน้ำและอาหารที่ปนเปื้อนจากคนทำอาหารที่เป็นพาหะของโรค รวมทั้งรับประทานอาหารที่ไม่ได้ทำให้สุกหรือจับต้องอาหารภายหลังปรุงสุก รวมทั้งนม สลัด หอยปรุงไม่สุก ที่เก็บจากน้ำบริเวณที่ปนเปื้อนเชื้อ
-ระยะฟักตัว : 15-50 วัน โดยเฉลี่ยประมาณ 28-30 วัน
-ระยะติดต่อ : จะติดเชื้อในช่วงหลังจากเริ่มมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง และจะหมดระยะติดต่อ เมื่ออาการตัวเหลือง ตาเหลืองหายไปแล้ว
อาการและอาการแสดง : จะมีอาการไข้ เหนื่อย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ปวดท้อง ปัสสาวะเป็นสีเข้ม และมีอาการดีซ่าน ปกติจะมีอาการนานไม่เกิน 2 เดือน ผู้ป่วยเพียงไม่กี่รายเท่านั้นที่มีอาการเจ็บป่วยนานถึง 6 เดือน
การวินิจฉัยโรค : โดยวิธี RIA หรือ ELISA หรืออาจใช้หลักฐานทางระบาดวิทยาช่วยในการวินิจฉัยโรคสำหรับIgG anti-HAVตรวจพบในช่วงต้นของการติดเชื้อและจะอยู่ตลอดไปซึ่งจะป้องกันโรคได้ตลอดชีวิต
ระบาดวิทยาของโรค : เกิดได้ทั่วโลก มีทั้งเกิดประปรายและเกิดการระบาดในกลุ่มคนที่อยู่รวมกันเช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงงาน และมักเกิดซ้ำซากในประเทศกำลังพัฒนา มักพบว่ากลุ่มเด็กวัยรุ่นมีความไวรับต่อโรคและมักจะมีการระบาดเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง ในประเทศที่พัฒนาแล้ว การถ่ายทอดโรคมักจะเกิดกับคนในครอบครัวเดียวกัน การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยในระยะที่ป่วยเฉียบพลัน บางครั้งพบผู้ป่วยในศูนย์เลี้ยงเด็ก ในกลุ่มผู้เดินทางไปประเทศที่มีความชุกของโรคนี้อยู่ ในกลุ่มผู้ฉีดยาเสพติดและในกลุ่มรักร่วมเพศ
การกระจายของโรคระบาดวิทยาของโรค : เกิดได้ทั่วโลก มีทั้งเกิดประปรายและเกิดการระบาดในกลุ่มคนที่อยู่รวมกันเช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงงาน และมักเกิดซ้ำซากในประเทศกำลังพัฒนา มักพบว่ากลุ่มเด็กวัยรุ่นมีความไวรับต่อโรคและมักจะมีการระบาดเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง ในประเทศที่พัฒนาแล้ว การถ่ายทอดโรคมักจะเกิดกับคนในครอบครัวเดียวกัน การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยในระยะที่ป่วยเฉียบพลัน บางครั้งพบผู้ป่วยในศูนย์เลี้ยงเด็ก ในกลุ่มผู้เดินทางไปประเทศที่มีความชุกของโรคนี้อยู่ ในกลุ่มผู้ฉีดยาเสพติดและในกลุ่มรักร่วมเพศ
แผนที่แสดงการกระจายของไวรัสตับอักเสบ เอ
การป้องกันการติดเชื้อ : ควรล้างมือบ่อยๆหลังจากเข้าห้องน้ำ ก่อนทานอาหาร และหลังทานอาหาร ดื่มน้ำจากแหล่งน้ำดื่มที่ได้รับการอนุมัติให้ดื่ม ปรุงอาหารให้สุก หรือล้างอาหารให้สะอาดก่อนทาน ส่วนวัคซีนให้ใช้ Havrix ฉีด 2 เข็มห่างกัน 1 เดือน และฉีดกระตุ้น 6 เดือน
1.2 ไวรัสตับอักเสบชนิด บี: Hepatitis B Virus
โรคไวรัสตับอักเสบ บี นี้เกิดมาจากการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ เนื่องจากหนองฝีที่นำมาใช้ ได้มีน้ำเหลืองของมนุษย์ที่มีเชื้อไวรัสของตับอักเสบ บี ปนเปื้อนอยู่ด้วยจึงทำให้เกิดโรคนี้ขึ้นมาโดยคนสมัยก่อนได้ให้ชื่อต่างๆ เช่น ตับอักเสบหลังจากฉีดเซรุ่ม ตับอักเสบระยะฟักตัวนาน ตับอักเสบที่เกี่ยวกับการถ่ายเลือด ต่อมาจึงได้ชื่อสากลว่า ตับอักเสบ บี
สาเหตุ : เกิดจากเชื้อไวรัส Hepatitis B Virus (HBV) ซึ่งเป็น DNA ไวรัส มีส่วนของไวรัสที่สำคัญ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของโรค คือ Hepatitis B surface antigen (HBsAg), Hepatitis B core antigen(HBcAg) และ Hepatitis e antigen (HBeAg) ซึ่งจะมีอยู่ในเลือดและน้ำคัดหลั่งในต่าง ๆ ของร่างกาย
อาการและอาการแสดง : อาการของผู้ป่วยตับอักเสบ บี จะเริ่มด้วยมีไข้ต่ำๆ เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดท้อง อาจปวดทั่วไปหรือปวดบริเวณชายโครงขวา ซึ่งเป็นตำแหน่งที่คลำพบว่าตับโต กดเจ็บ จะสังเกตได้ว่าปัสสาวะมีสีเข้มขึ้นเป็นสีชาแก่ เริ่มมีอาการตาเหลืองตัวเหลือง อาการของโรคตับอักเสบจะไม่รุนแรงมากนัก จะมีส่วนน้อยที่กลายเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง และบางรายที่รุนแรงมากจะมีภาวะตับวาย ซึ่งทำให้ถึงเสียชีวิตได้
การวินิจฉัยโรค : โดยการตรวจการทำงานของตับโดยเฉพาะ AST, ALT และตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ เพื่อดูการแบ่งตัวของเชื้อไวรัส หรือการกลายพันธุ์ นอกจากนี้ยังมีการตรวจชิ้นเนื้อตับเพื่อบอกความรุนแรงของตับอักเสบ จากการตรวจหาอัลฟาฟีโตโปรตีน ร่วมกับการตรวจอัลตราซาวน์ตับ
ระบาดวิทยา : เชื้อ HBV ติดต่อกันได้ทางเลือดและน้ำคัดหลั่งต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น น้ำลาย เสมหะ น้ำนม น้ำอสุจิ โดยเลือดจะเป็นแหล่งสำคัญที่มีเชื้ออยู่เป็นจำนวนมากที่สุด และในน้ำลายมีน้อยที่สุด การใช้เข็มหรือหลอดฉีดยาร่วมกัน การสัมผัสกับเลือด หรือน้ำคัดหลั่งต่าง ๆ ผ่านทางผิวหนัง หรือเยื่อบุต่าง ๆ และติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์ การติดต่อจะคล้ายกับโรคเอดส์
แผนที่แสดงการกระจายของไวรัสตับอักเสบ บี
การป้องกันการติดเชื้อ : ในปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ทั้งที่ทำจากเลือดและผลิตโดยกรรมวิธีพันธุวิศวกรรม ซึ่งตัวหลังได้รับความนิยมมากกว่า พบว่าการฉีดวัคซีน 3 เข็มบริเวณต้นแขนที่ระยะเวลา 0, 1และ 6 เดือน ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันปกติจะก่อให้เกิดภูมิต้านทานได้ ร้อยละ 90-95
1.3 ไวรัสตับอักเสบชนิด ซี: Hepatitis C Virus
บลุมเบอร์กและคณะได้รายงานเรื่องออสเตรเลีย แอนติเจน เมื่อปี พ.ศ.2506 แล้ว อีกประมาณ 5 ปี ให้หลัง ปรากฏว่าการบริการโลหิตในประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้งๆ ที่ได้มีการตรวจคัดเอาเลือดที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ออกไปเสียก่อนที่จะนำไปใช้ ทั้งนี้การวินิจฉัยโรคตับอักเสบ เอ และ บี ยังมีวิธีการที่แน่ชัดขึ้น แต่กระนั้นโรคตับอักเสบจากการรับเลือดยังคงมีอยู่และตับอักเสบดังกล่าวพิสูจน์ได้ว่าไม่ได้ เกิดจากไวรัสเอ หรือไวรัส บี จึงมีผู้เสนอแนะให้ใช้ชื่อว่า ตับอักเสบชนิด ซี
สาเหตุ : เกิดจากการรับเลือดของผู้อื่นที่มีการติดเชื้อ , การเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ หรือการมีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่มีการป้องกันโดยใส่ถุงยางอนามัยก็มีโอกาสติดเชื้อได้สำหรับบุคคลที่อยู่ร่วมกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด ซี ผู้ที่ใช้ยาเสพติด ผู้ที่ได้รับเลือดหรือการเปลี่ยนอวัยวะก่อนปี 2535 ที่เริ่มทำการตรวจคัดกรองเลือดบริจาค
อาการและอาการแสดง : เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้องบ้างเล็กน้อย ตามด้วยอาการ ดีซ่าน ระยะฟักโรคโดยเฉลี่ยประมาณ 8 สัปดาห์ โดยมีเกณฑ์อยู่ระหว่าง 2-20 สัปดาห์ หลังได้รับเชื้อ
การวินิจฉัยโรค
1. ตรวจค่า AST, ALT ซึ่งจะบ่งชี้ถึงการอักเสบของตับ ซึ่งค่าปกติจะน้อยกว่า 40 ยูนิต/ลิตร
2. ตรวจภูมิต้านทานเชื้อไวรัสซี ถ้ามีผลเป็นบวก แปลว่าท่านเคยได้รับเชื้อไวรัส ซี
3. ตรวจหาสายพันธุ์ของไวรัสตับอักเสบ ซี
4. ตรวจพยาธิสภาพของเนื้อตับด้วยการเจาะตับเพื่อประเมินการอักเสบและภาวะพังผืดในตับ
การกระจายของโรค
แผนที่แสดงการกระจายของไวรัสตับอักเสบ เอ
การป้องกันการติดเชื้อ : การตรวจเลือดหาแอนติบอดีต่อไวรัสตับอักเสบ ซี เพื่อคัดเอาเลือดที่มีเชื้อออกแม่นยำขึ้น จะช่วยลดการเกิดตับอักเสบไม่ใช่ เอ ไม่ใช่บี หรือตับอักเสบ ซี จากการรับเลือดลงไปได้ประมาณร้อยละ 70-80 นอกจากนั้น กำลังมีผู้พยายามที่จะหาวิธีทำลายเชื้อตับอักเสบ ซี ที่ปนเปื้อนอยู่ในเลือดซึ่งถ้าทำได้สำเร็จ การติดเชื้อจากการรับเลือดก็จะลดลงไปได้อีกมาก ขณะนี้การพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบซีกำลังดำเนินอยู่ และการรักษาโดยใช้อินเตอร์เฟอรอน
1.4 ไวรัสตับอักเสบชนิด ดี: Hepatitis D Virus
ภายหลังที่ได้มีการค้นพบไวรัสตับอักเสบ บี แล้ว ได้มีการศึกษาเรื่องโรคตับอักเสบจากการติดเชื้อมากขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2516 ริเซตโต ได้พบเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดใหม่เกิดขึ้นในกลุ่มผู้ติดยา ฉีดยาเสพติด ก่อให้เกิดโรคตับอักเสบได้ในผู้ที่เป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบ บี หรือก่อให้เกิดตับอักเสบซ้ำเติมในผู้ที่เป็นโรคตับอักเสบ บี อยู่แล้ว ต่อมาในภายหลังได้รับชื่อสากลว่า ไวรัสตับอักเสบ ดี
อาการแสดง : เริ่มแรก อาจเบื่ออาหาร หรือคลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้องบ้างเล็กน้อย ตามด้วยอาการดีซ่าน โรคนี้มีระยะฟักตัวประมาณ 8 สัปดาห์ การวินิจฉัยโรคทำโดยชันสูตรทางห้องปฏิบัติการไวรัส
การวินิจฉัย : ตับอักเสบ บี ร่วมกับ ตับอักเสบ ดี ตรวจเลือดจะพบ HbAg ,IgM anti-HDV,IgG anti-HDV
ให้ผลบวก ผู้ป่วยที่เป็นตับอักเสบ บี อยู่ก่อน แต่ได้รับไวรัสตับอักเสบ ดี
ระบาดวิทยา : พบชุกชมบริเวณแถบตะวันตกของลุ่มน้ำอะเมซอน บางส่วนของแอฟริกากลาง โรมาเนีย และในประเทศแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตะวันออกกลาง เอเชียกลาง และประเทศทางแถบคาบสมุทรอินเดีย ในประเทศที่มี HBV ชุกชุม มักพบ HDV ในอัตราสูงในผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง แต่ในประเทศที่มีการระบาดของHBV อยู่ในระดับต่ำ พบ HDV ในอัตราสูงในกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น ทางติดต่อเหมือน HBV คือทางเลือด
การกระจายของโรค
แผนที่แสดงการกระจายของไวรัสตับอักเสบ ดี
การป้องกัน : การป้องกันไวรัสตับอัเสบ ดี ทำโดยการป้องกัน Coinfection ร่วมกับ HBV หรือ superinfection ในผู้ที่เป็นพาหะ HBV อยู่ก่อนแล้วโดยใช้วิธีเดียวกันกับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี การให้ IFN- แก่ผู้ป่วยตับอักเสบ ดี แบบเรื้อรัง พบว่าใช้ได้ผลดีเพียงบางราย แต่ส่วนใหญ่แล้วมักมีอาการกลับเป็นขึ้นมาใหม่หลังจากหยุดใช้ยานี้
1.5 ไวรัสตับอักเสบชนิด อี : Hepatitis E Virus
จากการศึกษาทางระบาดวิทยา การเฝ้าระวังโรคอย่างมีระบบและต่อเนื่องในหลายประเทศการศึกษาวิธีการแพร่โรค พบว่าอาจระบาดอยุ่ตามชุมชนเล็ก ๆ และการแพร่โรคเกิดขึ้นโดยการกินหรือที่เรียกว่า "เอนเตอริก" หรือตับอักเสบ อี นั่นเอง
อาการและอาการแสดง : ผู้ป่วยจะเกิดอาการหลังได้รับเชื้อตั้งแต่ 15-60วัน จะมีอาการเหมือนตับอักเสบที่เกิดจากเชื้อชนิดอื่นกล่าวคือ มีอาการปวดท้อง ตัวเหลือง เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน สามารถตรวจพบเชื้อในอุจาระได้
การวินิจฉัย : การวินิจฉัยโรคตับอักเสบ อี ในห้องปฎิบัติการไวรัสยังอยู่ในวงจำกัด วิธีการที่ใช้ คือ
1. การตรวจหาอนุภาคไวรัสโดยวิธี IEM
2. การตรวจหากรดนิวคลีอิกของไวรัสจากเลือดและอุจจาระ
3. การตรวจหาแอนติบอดี IgM anti-HEV ในซีรั่ม หรือ IgG anti-HEV ในระดับสูงก็สามารถบ่งชี้หรือใช้วินิจฉัยได้เช่นกัน
ระบาดวิทยา : ระบาดในย่านเอเชีย เช่น อินเดีย เนปาล ปากีสถาน เมียนม่าร์ จีน อินโดนีเซีย บางส่วนของรัสเซีย ในแอฟริกาเหนือ และเม็กซิโก การระบาดส่วนใหญ่มาจากแหล่งน้ำใช้ การระบาดในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มักเกิดในช่วงหน้าฝนหรือเกิดหลังจากมีน้ำท่วมใหญ่ การระบาดประปรายในประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียน เช่น อิตาลี สเปน มีสาเหตุจากการบริโภคหอยซึ่งเลี้ยงบริเวณแหล่งน้ำโสโครก
การกระจายของโรค
แผนที่แสดงการกระจายของโรค
การป้องกัน : ปรับปรุงการสุขาภิบาล และดูแลแหล่งน้ำใช้ เช่น เติมคลอรีนในบ่อน้ำ ต้มน้ำหรืออาหารให้สุกก่อนการบริโภคโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีการระบาด ขณะนี้ยังไม่สามารถทำการป้องกันโรคโดยวิธิ passive immunization
อาการของโรคไวรัสตับอักเสบ
ตับอักเสบเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการที่พบได้บ่อย คือ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ปวดข้อ คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร อาจจะพบผื่นตามตัว หรืออาการท้องเสีย บางรายปัสสาวะสีเข้ม ตัวเหลืองตาเหลือง ซึ่งอาการตัวเหลืองตาเหลืองจะหายไป 1-4 สัปดาห์ แต่บางรายอาจนาน 2-3 เดือน ส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติ
การรักษาโรคตับอักเสบจากไวรัส
1. ตับอักเสบเฉียบพลัน : ไม่มีการรักษาเฉพาะโดยทั่วไปผู้ป่วยจะค่อยๆ ดีขึ้นเองอยู่แล้ว ควรพักผ่อนตาม สมควรรับประทานอาหารให้พอเพียง การดื่มน้ำหวานปริมาณมากๆ ไม่ได้ช่วยให้โรคหายเร็วขึ้นแต่น้ำตาลที่ดื่มเข้าไปมากๆ จะเปลี่ยนเป็นไขมันไปสะสมในตับอาจทำให้ตับโตจุกแน่นนานกว่าปกติได้
2. ตับอักเสบเรื้อรัง : ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการ จึงสามารถปฏิบัติภารกิจได้ตามปกติไม่ต้องหยุด งาน ยาที่ได้รับการพิสูจน์ว่ามีประโยชน์ในปัจจุบัน ได้แก่ อินเตอร์เฟอรอน พบว่าราวร้อยละ 30-40 ของผู้ป่วยจะมีการอักเสบของตับลดลงเป็นปกติพร้อมกับปริมาณของไวรัสลดลงด้วย แต่จะพบอาการข้างเคียงจากการทานยาตัวนี้อยู่บ้าง การรักษาวิธีใหม่คือการให้รับประทานยาต้นไวรัส "ลามิวูดีน" ไม่พบอาการข้างเคียงเลยจึงเป็นการรักษาที่ดี พบว่าผู้ป่วยราวร้อยละ70-80 จะมีการทำงานของตับเป็นปกติหลังได้ สามารถหยุดยั้งการเจริญของไวรัสได้ แม้ว่าจะมีผลข้างเคียงไม่มาก แต่ยามีราคาแพง และยังมีข้อมูลไม่มากนัก การใช้ยานี้ จึงควรอยู่ในความดูแลของอายุรแพทย์ที่มีความชำนาญด้านโรคตับเท่านั้น1. ตับอักเสบเฉียบพลัน : ไม่มีการรักษาเฉพาะโดยทั่วไปผู้ป่วยจะค่อยๆ ดีขึ้นเองอยู่แล้ว ควรพักผ่อนตาม สมควรรับประทานอาหารให้พอเพียง การดื่มน้ำหวานปริมาณมากๆ ไม่ได้ช่วยให้โรคหายเร็วขึ้นแต่น้ำตาลที่ดื่มเข้าไปมากๆ จะเปลี่ยนเป็นไขมันไปสะสมในตับอาจทำให้ตับโตจุกแน่นนานกว่าปกติได้
การป้องกันการติดเชื้อ ไวรัสตับอักเสบ
1. ตรวจเลือดเพื่อทดสอบว่า เคยได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบ มาก่อนหรือไม่
2. ฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสตับอักเสบก่อนที่จะได้รับเชื้อ
3. ไม่รับประทานอาหาร และน้ำดื่มที่ไม่สะอาด และอาหารที่ปรุงไม่สุกทุกชนิด
4. ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ร่วมกันกับผู้ที่ทราบว่าเป็นโรคนี้
5. หลีกเลี่ยงการมีสัมพันธ์ทางเพศ เช่น เที่ยวหญิงโสเภณี หรือการมั่วสุมทางเพศ
6.หลีกเลี่ยงการสัมผัสเลือดของผู้ป่วย เช่น รับการถ่ายเลือด จากผู้บริจาคเลือดที่มีเชื้อไวรัสนี้อยู่ในตัว
7. การงดสุรา และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และยาที่เป็นพิษต่อตับ
8. ควรรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ และมีคาร์โบไฮเดรตสูง
9. ยา เช่น ยาที่รักษาตามอาการ ยาช่วยลดการคั่งของน้ำดี
10. การป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ
บทสรุป
ปัจจุบันนี้ได้มีโรคต่างๆเกิดขึ้นอยู่มากมาย เนื่องมาจากปัจจุบันโลกของเราได้มีวิวัฒนาการที่กว้างไกลมากขึ้นเพื่อให้ทันโลกในสมัยปัจจุบัน จึงทำให้มีหลากหลายปัจจัยเกิดขึ้นที่ทำให้เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสภาพสิ่งแวดล้อม หรือจะเป็นการดำรงชีวิตของมนุษย์เราเองที่ได้ทำให้เกิดโรคต่างๆขึ้น ถึงแม้ว่าวิทยาการทางการแพทย์ในปัจจุบันจะก้าวหน้าขึ้นมากจากสมัยอดีตแล้วก็ตาม แต่โรคต่างๆในปัจจุบันก็มีวิวัฒนาการที่ก้าวหน้าเช่นกันจนวิทยาการทางการแพทย์ตามไม่ทัน โรคต่างๆเหล่านี้จึงได้ทำให้ผู้คนเสียชีวิตไปก็มาก ดังเช่น โรคตับอักเสบนับว่าเป็นโรคที่พบบ่อย การรักษาจึงไม่ยุ่งยากมากนัก ผู้ป่วยจึงสามารถมีชีวิตอย่างเป็นปกติสุขได้ แค่เพียงผู้ป่วยต้องรู้จักเข้าใจโรคและร่วมมือกับแพทย์ในการรักษาอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับการการมีพฤติกรรมที่เหมาะสมไม่ว่าจะเป็น การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การควบคุมสุขภาพอนามัยให้ถูกต้อง เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพอนามัยของผู้ป่วย และยังทำให้เจ็บป่วยจากโรคอื่นๆได้น้อยลง การรักษาจึงจะได้ผลดี และยังส่งผลให้ร่างกายคงอยู่ในสภาพที่แข็งแรง และใช้งานได้นานเท่าคนปกติได้ วิทยาการทางการแพทย์ไม่สามารถก้าวหน้าทันโรคได้ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นตัวของเราเองควรจะมีวิธีการป้องกันตนเองจากโรคภัยต่างๆเพื่อให้เราสามารถมีชีวิตอยู่บนโลกได้ด้วยความปลอดภัยอีกทั้งยังควรมีวิธีดูแลรักษาตนเองให้ห่างไกลจากโรคภัยเหล่านั้น มีวิธีปฎิบัติตนให้ถูกวิธีเพื่อที่จะสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขโดยปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ
ทางเลือกใหม่ที่ทุกคนใช้แล้วมีผลตอบรับดีมากๆ สุขภาพที่ดีไม่ใช่จะต้องดูแลแค่ภายนอก ต้องดูแลภายในด้วย แนะนำสมุนไพรพลูคาว 100% สกัดจากใบพลูคาวที่จะช่วยยับยั้งทำลายเชื้อไวรัส และเซ็ลล์มะเร็ง เชื้อ Hiv หูดหงอนไก่ สเก็ดเงิน ริดสีดวง เบาหวาน ไต ไทรอย ไวรัสตับอักเสบบี อัมพฤกษ์ อัมพาต หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ภูมิแพ้ โรคพุ่มพวง ไซนัส
ตอบลบอยากหายจากการป่วยที่เรื้อรังไว้ใจเราครับ
ผ่าน อย. และได้รับรางวัล ผลิตภัณฑ์ดีเด่นแห่งปี 2558 ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายของเราให้มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่างๆที่จะมาทำลายสุขภาพของเรา
สอบถามเพิ่มเติม tel. 0959279523 ID line. Aofaudio0502
สอบถามผ่านไลน์ก่อนได้ครับ อย่ามัวแต่อายครับสอบถามมาก่อนได้