2555/02/10

ภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดกาญจนบุรี


จากการค้นคว้างานวิจัย จำนวน เรื่อง สามารถสรุปประเด็นได้ทั้งหมด 9 ประเด็น ดังต่อไปนี้

1.ประเด็นเรื่องการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

     1. ทรัพยากรน้ำ แหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญของจังหวัด ได้แก่ แม่น้ำแควใหญ่ และแม่น้ำแควน้อย ทั้งสองสายไหล มาบรรจบกันที่ตำบลปากแพรก หน้าเมืองกาญจนบุรี เป็นแม่น้ำแม่กลอง ไหลผ่านอำเภอท่าม่วง อำเภอท่ามะกา และไหลลงสู่อ่าวไทยที่จังหวัดสมุทรสงครามสำหรับแหล่งน้ำชลประทานที่สำคัญในจังหวัด ได้แก่ เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนท่าทุ่งนา เขื่อนวชิราลงกรณและเขื่อนแม่กลอง ซึ่งสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าและทดน้ำเพื่อการชลประทานสำหรับเกษตรกรในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง จังหวัดกาญจนบุรีมีจำนวนแหล่งเก็บน้ำ ทั้งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และแหล่งเก็บน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ อ่างเก็บน้ำ ฝาย เหมือง ห้วย หนอง สระ รวมทั้งสิ้น 421 แห่ง มีปริมาณกักเก็บน้ำทั้งหมด 134,517,651.66ลูกบาศก์เมตร จำนวนครัวเรือนที่ได้รับประโยชน์ 83,243 ครัวเรือน จำนวนหมู่บ้านที่ได้รับประโยชน์ 662 หมู่บ้าน 2. ทรัพยากรป่าไม้ ป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของจังหวัดกาญจนบุรี มีพื้นที่ป่าไม้เป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองจากจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดตาก จังหวัดกาญจนบุรีมีพื้นที่ป่าในหลายลักษณะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของแต่ละพื้นที่ ซึ่งคิดเป็นเนื้อที่ป่าไม้ 7,445,151 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 60 ของเนื้อที่ทั้งหมดของจังหวัด ลักษณะป่าจะเป็นป่าแบบเบญจพรรณโดยมีไม้ที่สำคัญ อาทิเช่น ไม้แดง ไม้ตะเคียน ไม้มะค่า ไม้รัง ไม้ไผ่ เป็นต้น และมีทุ่งใหญ่นเรศวรเป็นป่าผืนใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เชื่อมต่อกับผืนป่าของจังหวัดอุทัยธานีและจังหวัดตากเป็นต้นกำเนิดของสัตว์ป่านานาชนิดและต้นน้ำลำธาร ได้รับการประกาศไว้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติเมื่อปี 2534 แบ่งเป็นป่าไม้ถาวร ตามมติคณะรัฐมนตรี 252,805 ไร่ ป่าสงวนแห่งชาติ 965,276 ไร่ อุทยานแห่งชาติ 4,065,088 ไร่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 2,104,388 ไร่ เขตห้ามล่าสัตว์ป่า 56,250 ไร่ วนอุทยาน 1,344 ไร่ 3. ทรัพยากรธรณี แร่จัดเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของจังหวัดกาญจนบุรี แร่ที่สำรวจพบในจังหวัดกาญจนบุรี ได้แก่ ดีบุก วุลแฟรม ควอรตซ์ หินอุตสาหกรรม ดินขาว เฟลด์สปาร์ โคโลไมต์ หินปูนขาว ซึ่งมีปริมาณแร่ที่ผลิตได้ 2,260,450.60 เมตริกตัน รายได้ภาคหลวงแร่ 13,260,794.30 บาท

ข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นรากฐานที่สำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวันของประชาชนในจังหวัดกาญจนบุรีอันก่อให้เกิดวัฒนธรรม และประเพณีที่สืบทอดกันมารุ่นสู่รุ่นจนพัฒนาความรู้ดั้งเดิมมาเป็นผลผลิตทางปัญญาที่เรียกว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งทำให้ความเป็นอยู่ดีขึ้น มีการจำหน่ายเป็นเศรษฐกินของประชาชนจังหวัดกาญจนบุรี

2.ประเด็นเรื่อง ศาสนา ความเชื่อ และขนบธรรมเนียมประเพณี

      กาญจนบุรีเป็นดินแดนที่ตั้งอยู่ฝั่งชายแดนทางภาคตะวันตกของประเทศไทย มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานทุกยุคสมัยต่อกันมาโดยไม่ขาดสาย ในการนับถือศาสนาของประชาชนในจังหวัดกาญจนบุรีจะมีทั้งศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาฮินดู และรวมถึงศาสนาพราหมณ์ โดยศาสนาที่ประชาชนส่วนใหญ่ของจังหวัดกาญจนบุรีนับถือเป็นชาวพุทธ ศาสนาสถานต่างๆ มีวัดพุทธ 427 แห่ง สำนักสงฆ์ 170 แห่ง ที่พักสงฆ์ 104 แห่ง มัสยิด 3 แห่ง และโบสถ์คริสต์ 11 แห่ง ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจเริ่มต้นจากรูปแบบความเชื่อที่ถือกันว่าเก่าแก่ที่สุดนั่นคือการนับถือภูตผีปีศาจเหตุนี้จึงก่อให้มีหลากหลายศาสนาเกิดขึ้น เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าส่วนที่สำคัญในทุกวัฒนธรรมคือศาสนาเพราะศาสนามีผลต่อความรู้สึกนึกคิดประเพณีและเป็นแรงบันดาลใจให้มนุษย์ได้สร้างสรรค์วัฒนธรรมอื่นๆอีกเป็นอันมาก เพื่อเป็นแนวทางในการสืบทอดประพฤติปฏิบัติ

       ชาวบ้านในจังหวัดกาญจนบุรียังได้มีความเชื่อและความนับถือตั้งแต่บรรพบุรุษในเรื่องของผีสาง เทวดา เห็นได้ว่าการนับถือศาสนาและความเชื่อของคนกาญจนบุรีมีลักษณะพิเศษ กล่าวคือ นอกจากจะกราบไหว้บูชาพระพุทธรูปแล้ว ยังกราบไหว้บูชาศาลพระภูมิและผีสางเทวดา และยังมีความเกี่ยวพันกับพระพุทธศาสนาอย่างแน่นแฟ้น นอกจากนี้ ยังมีลักษณะที่ผสมผสานความเชื่อดั้งเดิมเข้ากับศาสนาพุทธและพราหมณ์ได้อย่างแนบสนิท ซึ่งจะยกตัวอย่างความเชื่อที่สืบทอดกันมาแต่ยาวนานที่สำคัญของจังหวัดกาญจนบุรี มีดังนี้

1. หม้อยาย


เป็นความเชื่อของชาวบ้านหนองขาว ที่ทุกบ้านจะมีหม้อดินแขวนไว้ ภายในหม้อบรรจุไวด้วยขี้ผึ้งปั้นเป็นรูปคน เชื่อว่า ยายจะช่วยปกปักษ์รักษาให้ทุกคนในบ้านอยู่เย็นเป็นสุข

2. ศาลพ่อแม่

 เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นศูนย์รวมใจของชาวบ้านในเรื่องพิธีกรรมความเชื่อมากกว่า 200 ปี ให้คุ้มครองและให้งานนั้น ๆ ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย และครอบครัวมีความอยู่ดีมีสุข

3. ศาลเจ้าพ่อโรงหนัง เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และความเชื่อที่ชาวบ้านให้การนับถือและเป็นศูนย์รวมใจของชาวบ้านหนองขาวในการประกอบพิธีกรรม

4. ศาลเจ้าพ่อขุนด่าน


เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนชาวอำเภอศรีสวัสดิ์เคารพนับถือ โดยจะมีการจัดทำบุญขึ้นทุกปี ที่ชาวบ้านเรียกว่าทำบุญกลางบ้าน

      นอกจากนี้ยังมีความเชื่อในด้านต่างๆ อาทิเช่น แม่พญางิ้วดำ ศาลหลักเมืองกาญจนบุรี ความเชื่อห้ามผู้หญิงเดินเข้าไปในพระธาตุโบอ่อง ทั้งนี้ความเชื่อของชาวจังหวัดกาญจนบุรีเป็นวัฒนธรรมที่มีความกลมกลืนกับธรรมชาติ ชื่นชมธรรมชาติมากกว่าจะเอาชนะธรรมชาติ มีความละเอียดลออ ประณีตพิถีพิถันตามแบบฉบับชีวิตชาวบ้านที่ไม่มีความรีบร้อน และยังเป็นวัฒนธรรมที่มีความอิสรเสรี แสดงออกถึงความสนุกสนาน ร่าเริง เน้นคุณค่าของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

       ขนบธรรมเนียมประเพณี ขนบธรรมเนียมและประเพณีของชาวจังหวัดกาญจนบุรี การแต่งกาย ชาวจังหวัดกาญจนบุรีโดยทั่วไปยกเว้นคนไทยเชื้อสายต่าง ๆ เช่น พม่า มอญ กะเหรี่ยง จะมี การแต่งกายคล้ายคลึงกับชาวจังหวัดอื่นในภาคกลาง คือเมื่ออยู่กับบ้านจะแต่งกายสบาย ๆ ไม่พิถีพิถัน แต่เมื่อเวลา ไปงานเลี้ยง งานบุญ งานพิธี ก็จะแต่งกายพิถีพิถันสวยงามตามสมัยนิยม

       การกินอยู่ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศของจังหวัดกาญจนบุรีเป็นป่าเขา มีแม่น้ำลำธารมาก ทำให้มีพืชผัก ของป่าหลายชนิดที่ชาวบ้านรู้จักและนำมาปรุงเป็นอาหารพื้นบ้านรับประทานกันตลอดมา ผักบางชนิดคนจังหวัดอื่นไม่รู้จัก เช่น ผักหวานป่า ผักกูด ผักหนาม ดอกอีนูน ดอกดิน ลูกตาลเสี้ยน เห็ดรวก เห็ดไผ่ อาหารพื้นบ้านมีอยู่หลายชนิดที่เป็นอาหารขึ้นชื่อที่ชาวต่างจังหวัดที่มาท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรีนิยมสั่งรับประทาน เช่น ยำเห็ดโคน ต้มยำปลายี่สก ปลารากกล้วยทอด แกงป่าปลาคัง และแกงป่าไก่ไทย นอกจากนี้ยังมีอาหารอีกประเภทหนึ่งที่ชาวจังหวัดกาญจนบุรีนิยมทำรับประทานมาตั้งแต่สมัยโบราณ คือ ข้าวต้มมัดไต้ ข้าวหลาม ขนมจีน วุ้นเส้น กิริยามารยาท มีวิถีการดำเนินชีวิตแบบไทยเดิม ครอบครัวที่อยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ ปู่ ย่า ตา ยาย และญาติพี่น้องยังอยู่รวมกัน มีความเคารพตามลำดับอาวุโส ประเพณีท้องถิ่น จังหวัดกาญจนบุรีเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีวัฒนธรรม และความเป็นมาเก่าแก่มาแต่โบราณ มีความเจริญรุ่งเรือง ในด้านศิลปวัฒนธรรมและขนมธรรมเนียมประเพณีในชุมชนชาวเมือง ประเพณีที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา - ประเพณีการทำบุญตักบาตรเทโว เป็นประเพณีที่สืบเนื่องมาจากประเพณีการทำบุญออกพรรษา ประชาชนจะมาร่วมกันตักบาตรเป็นจำนวนมาก - ประเพณีแห่เทียนพรรษา นิยมหล่อเทียนต้นใหญ่เพื่อให้พระภิกษุใช้จุดได้ตลอดเวลาเข้าพรรษา 3 เดือน เทียนดังกล่าว เรียกว่า เทียนจำนำพรรษา” - ประเพณีทอดกฐิน ทำในช่วงตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 – วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 ประเพณีเกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้าน คือ - ประเพณีร่อยพรรษา เพลงร่อยพรรษาเป็นเพลงพื้นเมืองที่เป็นการละเล่นอย่างหนึ่ง ปัจจุบัน ร้องในหมู่ผู้สูงอายุ จุดประสงค์สำคัญคือเป็นการบอกบุญเรี่ยไรข้าวของ เงินและสิ่งของต่าง ๆ ประเพณีเกี่ยวกับวิถีชีวิต ได้แก่ - ประเพณีการบวช เชื่อถือกันว่าถ้าใครได้บวชลูกชาย ยามสิ้นอายุจะได้เกาะชายผ้าเหลืองของลูกไปสู่สวรรค์ - ประเพณีสงกรานต์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 13 – 15 เมษายนของทุกปี มีการทำความสะอาดบ้านเรือน ทำบุญให้ทาน สรงน้ำพระ รดน้ำผู้ใหญ่ และเล่นสาดน้ำในคนรุ่นเดียวกันหรือเยาว์กว่า - ประเพณีลอยกระทง นิยมทำกันในกลางเดือน 12 ประเพณีต่างๆเหล่านี้ได้มีมาแต่สมัยอดีตกาลซึ่งในปัจจุบันก็ยังสามารถเห็นได้จากหลายจังหวัดไม่เฉพาะแต่เพียงในจังหวัดกาญจนบุรีเพียงเท่านั้น นับได้ว่าปัจจุบันนี้ประเพณีนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อชีวิตของคนเรา เพราะประเพณีจะเป็นสิ่งที่ทำให้แสดงให้เห็นเอกลักษณ์และลักษณะที่ดีภายในตัวจังหวัด เราจึงควรรักษาและอนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรมที่ดีงามเพื่อให้ประเพณีต่างๆได้สืบทอดไปจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลานในอนาคต เพื่อให้ลูกหลานได้รู้จักถึงประเพณีที่เป็นมรดกอันสำคัญของคนไทย 

 3.ประเด็นเรื่อง ศิลปกรรม

1. นาฏศิลป์

     (1)รำตง เป็นการละเล่นของชาวกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ใน อำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิและอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี การแสดงมีการตั้งแถวผู้แสดงเป็นแถวลึกประมาณ ๕-๖ แถวและยืนห่างกันประมาณ ๑ ช่วงแขน ชุดที่ใช้ในการแสดงรำตงเป็นชุดกระโปรงปักด้วยด้ายสีสด คาดเข็มขัดเงินที่เอว เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง คือ กลองสองหน้า ระนาด ฆ้องวง พิณหรือปี่ ฉิ่ง ตง ( ไม้ไผ่ยาวประมาณ ๓๐ เซนติเมตร เซาะเป็นร่องใช้ไม้ตีให้จังหวะ) เนื้อร้องของเพลงรำตงมีเนื้อหาเกี่ยวกับความเป็นมาของกะเหรี่ยง การอบรมให้เป็นคนดี และเกี่ยวกับพุทธศาสนา เป็นต้น ท่าทางที่รำคล้ายกับฟ้อนพม่า การแสดงรำตงเป็นการละเล่นที่สนุกสนานในงานพิธีสำคัญ ๆ เช่น งานศพ งานบุญข้าวใหม่ งานสงกรานต์ เป็นต้น

     (2) เพลงเหย่ย โดยแบ่งผู้เล่นออกเป็นฝ่ายชายกับหญิงแต่ละฝ่ายจะมีผู้ร้องประกอบด้วยพ่อเพลง แม่เพลง ลูกคู่ และผู้รำ เนื้อร้องส่วนใหญ่จะเป็นทำนองหยอกล้อ เกี้ยวพาราสี โดยมีเครื่องดนตรีประกอบได้แก่ กลองยาว รำมะนา ฉิ่ง กระบอกไม้ไผ่ นิยมเล่นในเทศกาลวันตรุษ สงกรานต์ งานนักขัตฤกษ์ งานมงคลต่างๆ และงานรื่นเริงของชาวบ้าน โดยเฉพาะในเขตอำเภอพนมทวน เช่น บ้านทวน บ้านห้วยสะพาน บ้านทุ่งสมอ บ้านหนองปลิง

2. คีตศิลป์

     1) บทเพลง เพลงสำหรับไหว้ครู
(1) เพลงนาโตส้อง เป็นเพลงที่บรรเลงเพื่อไหว้ครูก่อนการแสดงวงชะพูชะอู รำตง รำอะเย้ย รวมถึงก่วยเจ๊าะด้วย เพื่อเป็นการบอกเล่าครูบา-อาจารย์หลังจากที่ยกกะเต๊าะปวยเรียบร้อยแล้ว เมื่อบรรเลงเพลงนาโตส้อง 3 รอบแล้วจึงทำการแสดง

(2) เพลงประกอบรำตง รำตง หรือภาษากะเหรี่ยงเรียกว่า เทอ ลี โตว เป็นนาฏศิลป์ที่เป็นเอกลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของชาวกะเหรี่ยง ในวัฒนธรรมชาวกะเหรี่ยงนั้นมีหลายตงหรือหลายชุด แต่ตงมู่หละนี้เป็นรำตงเฉพาะของชาวกะเหรี่ยงหมู่บ้านกองม่องทะ ตำบลไล่โว่

(3) เพลงประกอบรำอะเย้ย รำอะเย้ยนั้นชาวกะเหรี่ยงได้รับอิทธิพลมาจากชาวพม่า ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความใกล้ชิดกัน ไม่ใช่การแสดงของชาวกะเหรี่ยงโดนแท้ แต่ยังนิยมเล่นในหมู่ชาวกะเหรี่ยง การแต่งกายก็คล้ายกับการแสดงของชาวมอญ เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบในรำอะเย้ยนั้น มักจะนำแพลงที่บรรเลงประกอบการแสดงรำตงนำมาบรรเลงประกอบในรำอะเย้ยด้วยและยังสามารถนำเพลงที่บรรเลงในรำอะเย้ยไปบรรเลงในก่วยเจ๊าะได้ด้วย

(4) เพลงสำหรับประกอบก่วยเจ๊าะ เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบก่วยเจ๊าะนั้น มักจะนำเพลงที่บรรเลงประกอบรำอะเย้ย รำตง มาบรรเลงในแต่ละส่วนของก่วยเจ๊าะ นอกจากการบรรเลงของวงชะพูชะอูแล้วก็แล้วก็ยังมีการบรรเลงเพลงจากเครื่องดนตรีอื่นๆด้วย เช่น เมตารี่ นาเด่งฺ หรือ อาจเป็นการร้องเพลงทั้งหมดรวมเรียกว่า ก่วยเจ๊าะ เช่นกัน

     2) ดนตรี

(1) เครื่องดีด

จฺยาม (จะเข้) จฺยามเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายใช้ดีดให้เกิดเสียง จฺยาม ในภาษามอญคือเครื่องดนตรีที่มีลักษณะเหมือนกับจะเข้ของไทยแต่มีความเป็นเอกลักษณ์ของจฺยาม คือ เป็นเครื่องดนตรีที่แกะสลักรูปร่างเหมือนกับจระเข้จริงๆ

(2) เครื่องสี

กะยอฮอร์นกะยอฮอร์น เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายใช้สีเหมือนกับไวโอลิน มีกล่องเสียงที่ทำจากโลหะและมีลำโพงขยายเสียง สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตก

(3) เครื่องตี

ก. เครื่องตีประเภทดำเนินทำนอง

ปั๊ตกาล่า (ระนาดไม้)ปั๊ตกาล่า เป็นเครื่องดนตรีที่ลักษณะเหมือนระนาดเอกของไทยเป็นเครื่องดนตรีประเภทตี ปั๊ตกาล่า ของมอญบ้านวังกะ ระดับเสียงลดหลั่นกันตามขนาดของลูกระนาดที่มีตั้งแต่ขนาดใหญ่(ด้านซ้าย)ไปหาขนาดเล็ก(ด้านขวา) ลูกระนาดร้อยเชือกแขวนบนราง ลักษณะของรางปั๊ตกาล่าจะมีขนาดใหญ่และสูงกว่ารางระนาดเอกของไทยมีเท้ารองรางตรงกลางรางเป็นเท้าเดี่ยวตัวรางมีทั้งเป็นไม้เรียบๆและแกะลายปิดทองสวยงามไม้ตีปั๊ตกาล่ามีลักษณะคล้ายไม้ตีฆ้องวงเล็กของไทยมีความยาวประมาณ 20 ซ.ม.หัวไม้ตีทำจากหนังสัตว์

ปั๊ตกาล่าปะซอล (ระนาดเหล็ก)ปั๊ตกาล่าปะซอล (ระนาดเหล็ก)เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีลักษณะเหมือนระนาดเอกเหล็กของไทยลูกระนาดทำจากโลหะหรือเหล็กจำนวน 24 ลูก วางเรียงบนรางที่มีลักษณะเป็นกล่องทำจากไม้สักหรือไม้เนื้อแข็ง มีความยาวและระดับเสียงลดหลั่นกันตามลำดับเหมือนกับปั๊ตกาล่ามีระดับเสียง 7 เสียง ลูกระนาดวางเรียงลำดับเสียงจากเสียงต่ำทางด้านซ้ายมือไปหาเสียงสูงทางด้านขวามือมีไม้ตีลักษณะเดียวกับไม้ตีปั๊ตกาล่า ยาวประมาณ 25 เซนติเมตร รางระนาดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีเท้า 4 เท้ารูปลักษณะไม่ได้รับการปรับปรุงให้สวยงามและมีความละเอียดอ่อนเท่ากับระนาดเหล็กของไทยด้านบนเปิดเป็นร่องราง เพื่อวางลูกระนาด

ปั๊ตก่าน (ฆ้องมอญ)ปั๊ตก่านเป็นเครื่องดนตรีประเภทตีทำจากโลหะทองเหลืองร้านฆ้องทั้งสองโค้งไปในแนวดิ่งรางฆ้องประดิษฐ์ตกแต่งแกะสลักลวดลายลงลักปิดทองรางฆ้องด้านหน้าแกะสลักเป็นรูปหน้าเทวดา(ซ้ายมือ)ลวดลายศิลปะแบบมอญด้านหาง(ขวามือ)แกะสลักเป็นรูปหงส์ เท้า(ฐาน)รองตรงกลางฆ้องวงคล้ายกับฆ้องมอญในวงดนตรีของไทยรางฆ้องทั้งวงนั้นมีลูกฆ้องทั้งหมดจำนวน 15 ลูกเรียงลำดับลดหลั่นกันลงมาเรียงจากซ้ายมือเป็นเสียงต่ำไปจนด้านขวามือสุดเป็นเสียงสูง มีไม้ตีปั๊ตก่าน 1 คู่ยาวประมาณ 24 เซนติเมตร

วางซอน (กลองเปิงมาง 18 ลูก)วางซอนเป็นเครื่องดนตรีประเภทกลองที่ขึงด้วยหนังสัตว์มีขนาดไม่ใหญ่โตนักจำนวน21 ลูกเป็นเครื่องดนตรีทีคู่มีลักษณะคล้ายกับเปิงมางคอกที่บรรเลงอยู่ในวงปี่พาทย์มอญของไทยประกอบด้วยกลองที่มีลักษณะคล้ายกับกลองสองหน้าแขวนเรียงจากลูกใหญ่ไปหาเล็ก(ซ้ายไปขวา)จากเสียงต่ำไปสูงจำนวน 18 ลูกโดยเทียบเสียงเท่ากับเสียงของปั๊ตกาล่า ปั๊ตกาล่าปะซอลโดยที่ซ้ายมือเริ่มที่เสียงต่ำสุดจากนั้นจะไล่เสียงให้สูงไปตามลำดับและบริเวณหน้ากลองด้านบนติดข้าวสุกเพื่อปรับเสียงของกลองแต่ละลูกกลองแต่ละลูกจะแขวนเรียงลำดับเสียงรอบตัวคนตีมีทางเข้าเป็นช่องวงกลมด้านหลังของคอกเป็นที่แกะลวดลายปิดทองอย่างสวยงาม

ข. เครื่องตีประเภทเครื่องประกอบจังหวะ

หะเปิน (ตะโพนใบเล็ก)หะเปิน เป็นเครื่องดนตรีประเภทกลอง บรรเลงประกอบจังหวะมีลักษณะคล้ายกับตะโพนมอญในวงปี่พาทย์ของไทยแต่มีขนาดเล็กกว่าตะโพนมอญของไทยขึงด้วยหนังทั้งสองหน้ารั้งด้วยหนังหรือเชือกแบบตะโพนมอญของไทยมีขาตั้งเมื่อจะบรรเลงจะมีข้าวสุกติดบริเวณตรงกลางหน้ากลอง

หะเปินหะโหนก (ตะโพนใบใหญ่)รูปร่างลักษณะเดียวกับหะเปินแต่มีขนาดใหญ่กว่ามีหน้าที่บรรเลงประกอบจังหวะในวงก่วนกว๊าดมอญ

เปินมาง (เปิงมาง 4 ใบ)กลองที่มีขนาดลดหลั่นกันจำนวน 4 ใบวางเรียงกันเป็นแถวหน้ากระดานโดยให้ลูกที่มีเสียงสูงสุดอยู่ด้านขวามือและวางลดหลั่นกันไปทางด้านซ้ายมือ

คะดี (ฉิ่ง)คะดีเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบจังหวะประเภทโลหะในวงก่วนกว๊าดมอญใช้ฉิ่งเพียงฝาเดียวโดยยึดติดกับคะเหนิด(เกราะ)ด้านใดด้านหนึ่งในลักษณะหงายขึ้นตรึงด้วยตะปูอย่างหลวมๆ เพื่อให้เกิดเสียงกังวานเมื่อตีด้วยไม้ตีในขณะบรรเลง

คะเหนิด (เกราะ)คะเหนิดเป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะประเภทไม้ กล่องไม้เนื้อแข็งสี่เหลี่ยมผืนผ้าแข็งโดยกว้านเนื้อไม้ให้เป็นโพรงด้านในเป็นช่องเพียงด้านเดียวเพื่อให้เกิดเสียงกังวานเมื่อขณะตีด้วยไม้

ชาน (ฉาบ) ชานทำด้วยโลหะลักษณะคล้ายฉิ่งแต่แบนและใหญ่กว่าเสียงดังกว่าฉิ่งที่ใช้บรรเลงประกอบจังหวะเพื่อเน้นจังหวะให้กระชับยิ่งขึ้น

สะโค้ด (กลุ่มเครื่องประกอบจังหวะประเภทกลอง) สะโค้ดเป็นชื่อที่เรียกกลุ่มเครื่องประกอบจังหวะประเภทกลองรวมกัน 3 ชนิดได้แก่ หะเปิน1 ใบ หะเปินหะโหนก 1 ใบ และเปิงมาง 4 ใบรวมกัน (วางเรียงกันมีไม้ไผ่เสียบหนังเรียบตรงกลางของแต่ละใบเพื่อไม่ให้กลองสั่นคลอนในขณะที่บรรเลง) ลักษณะการจัดวางนั้นจะวางหะเปินไว้ด้านหน้าสุดของผู้ตีกลองและระหว่างหะเปินกับผู้ตีจะวางเปิงมางไว้ส่วนหะเปินหะโหนก วางไว้ด้านซ้ายของผู้ตีในลักษณะนี้ สะโค้ดใช้ผู้บรรเลงคนเดียว จากคำบอกเล่าของครูโปเลินเซินอธิบายว่า จำนวนกลองที่ใช้ตีในกลุ่มนี้จะต้องมีจำนวนรวมกัน 6 ใบดังกล่าวข้างต้นจึงจะเรียกว่าสะโค้ด (โปเลินเซิน.2551, 11เมษายน: สัมภาษณ์)

ค. เครื่องเป่า

ตะหลด (ขลุ่ย)ตะหลด เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้เป่าทำให้เกิดเสียงประเภทไม่มีลิ้นมีลักษณะเป็นท่อไม้ไผ่เรียกว่าเล่าขลุ่ย ภายในเป็นรูกลวงมีรูเจาะสำหรับไล่เสียงขนาดใหญ่กว่าขลุ่ยเพียงออของไทยเล็กน้อยรูสำหรับๆไล่เสียงมีทั้งหมด 8 รู

ขะนัว (ปี่มอญ) ขะนัว เป็นเครื่องดนตรีประเภทใช้ลิ้นเป่ามีลักษณะเป็นสองท่อนเหมือนปี่มอญในวงปี่พาทย์ มอญของไทยแต่มีขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย


4.ประเด็นเรื่อง ภาษาและวรรณกรรม” 
 การใช้ภาษาไทยถิ่นกาญจนบุรีและภาษาไทยมาตรฐานในชีวิตประจำวันพบว่า สำเนียงการพูดมีความแตกต่างจากภาษาไทยมาตรฐานอย่างชัดเจน แสดงให้เห็นว่าภาษาไทยถิ่นกาญจนบุรีที่พูดกันตามบริเวณต่างๆ มีสำเนียงการพูดแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นที่ผู้พูดอาศัยอยู่ในบริเวณต่างๆ ของภาษาไทยถิ่นกาญจนบุรี ทำให้เกิดภาษาต่างๆที่ใช้พูดกันในจังหวัดกาญจนบุรีมีทั้งสิ้น 11 ภาษา โดยแบ่งออกเป็น 4 ตระกูลภาษา ได้แก่ 1.ภาษาตระกูลไต ได้แก่ ภาษาไทยภาษาลาวโซ่งภาษาลาวพวนและภาษาลาวครั่ง 2.ภาษาตระกูลมอญ-เขมร ได้แก่ ภาษามอญ ภาษาเขมร ภาษาขมุ 3.ภาษาตระกูลกระเหรี่ยง ได้แก่ ภาษาละว้า(อุก่อง) 4.ภาษาตระกูลทิเบต-พม่า ได้แก่ ภาษากระเหรี่ยง(ยาง) ภาษากระเหรี่ยงโปว์ ภาษาโพล่วภาษาต่างๆดังกล่าวข้างต้นมีภูมิลำเนากระจายอยู่ในบริเวณต่างๆของจังหวัดกาญจนบุรี ดังนี้



ภาษาต่างๆ
บริเวณที่พบ
ภาษาไทย
อยู่ทั่วไปในจังหวัดโดยเฉพาะในเขตเทศบาลและ อ.เมือง
ภาษาลาวโซ่ง
อ.สังขละบุรี อ.ทองผาภูมิ อ.พนมทวน และ อ.บ่อพลอย
ภาษาลาวครั่ง
อ.ด่านมะขามเตี้ย
ภาษาลาวพวน
อ.เลาขวัญ และ อ.พนมทวน
ภาษามอญ
อ.สังขละบุรี อ.เลาขวัญ และ อ.ทองผาภูมิ
ภาษาเขมร
อ.ไทรโยค อ.เลาขวัญ และ อ.ศรีสวัสดิ์
ภาษาขมุ
อ.ทองผาภูมิ อ.สังขละ และ อ.ไทรโยค
ภาษาละว้า
อ.สังขละบุรี อ.ทองผาภูมิ และ อ.ศรีสวัสดิ์
ภาษากระเหรี่ยง(ยาง) ภาษากระเหรี่ยงโปว์ และภาษาโผล่ว
อ.ทองผาภูมิ อ.ไทรโยค อ.ศรีสวัสดิ์ อ.สังขละบุรี

          นอกจากนี้ในจังหวัดกาญจนบุรียังมีกลุ่มคนที่พูดภาษาอื่นๆ แต่โดยมากจะเป็นกลุ่มคนที่มีขนาดเล็กหรือเป็นกลุ่มคนที่พึ่งจะอพยพย้ายถิ่นที่อยู่มาจากที่อื่น และในแต่ละอำเภอภาษาที่ใช้พูดต่างๆอาจจะมีจำนวนมากขึ้น ถึงแม้ว่าภาษาในจังหวัดกาญจนบุรีจะมีหลากหลายภาษา แต่ในปัจจุบันผู้คนส่วนมากพูดภาษากลาง ซึ่งมีสำเนียง เหน่อทั้งนี้ผู้คนในพื้นที่ต่างๆยังคงรักษาวัฒนธรรมทางภาษาดั้งเดิมไว้ เพื่อให้เยาวชนคนรุ่นหลังได้สืบสานวัฒนธรรมที่ดีงามต่อไป วรรณกรรมในจังหวัดกาญจนบุรีโดยส่วนมากจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับนิทานพื้นบ้านที่เกี่ยวข้องกับความเป็นมาในจังหวัดกาญจนบุรี และนิทานทั่วๆไปที่จะมีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่รุ่นสมัยอดีตกาล ซึ่งเป็นเรื่องเล่าที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นและสืบทอดต่อกันมาจนเป็นมรดกวัฒนธรรม นิทานพื้นบ้านจึงเป็นเรื่องเล่าสืบทอดกันมาระหว่างปากต่อปาก ต่อมาในปัจจุบันมีการเขียนขึ้น จึงได้เขียนเป็นเรื่องราวด้วยถ้อยคำที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจที่เรียกว่า นิทานนิทานพื้นบ้านมักพบในชุมชนทั่วไป เนื้อหาในนิทานจะเป็นเรื่องทั่วๆไป อาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับการผจญภัย การแข่งขัน เรื่องตลกขบขัน การคดโกง หรือเรื่องแปลกประหลาดผิดปกติธรรมดา ตัวในเรื่องบางทีก็เป็นคนเคราะห์ดี บางทีก็เป็นคนเคราะห์ร้าย บางคนเก่งกาจอาจหาญ บางคนก็เหลวไหลไม่ได้เรื่อง บ้างก็ฉลาด บ้างก็โง่ แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามล้วนแต่มีความรู้สึกนึกคิดอย่างมนุษย์ประเภทต่างๆ ในโลกของมนุษย์เรานี้เอง โดยนิทานพื้นบ้านนี้จะมีอิทธิพลต่อบทบาทในด้านสังคมให้ความสนุกสนาน ความเพลิดเพลิน และความบันเทิงแก่ผู้อ่าน ช่วยกระชับความสัมพันธ์ไมตรีภายในครอบครัว และยังช่วยให้ได้รับความรู้ การศึกษา และเสริมสร้างจินตนาการที่ดีงามแก่เด็กๆ ทั้งนี้ยังสอดแทรกคติสอนใจปลูกฝังจริยธรรมอันดีงามที่สอนให้คนทุกคนเป็นคนดี และปลูกฝังบรรทัดฐานทางสังคมเพื่อให้รู้ว่าสิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ นิทานพื้นบ้านในจังหวัดกาญจนบุรีที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมในผู้คนในชุมชนนั้นก็มีอยู่ไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็น เรื่องชายแก่กับเรือ เรื่องหญิงกำพร้าใจงดงาม เรื่องหญิงใจบาป เรื่องสองพี่น้องสู้ชีวิต เรื่องตะขาบยักษ์ ฯลฯ ที่แต่ละเรื่องก็ล้วนแต่มีตัวละครที่น่าประทับใจ เป็นนิทานที่สนุกสนาน ให้ความเพลิดเพลิน และสอดแทรกคติสอนใจอีกด้วย

5.ประเด็นเรื่อง เกษตรกรรม


การเกษตรแบบยั่งยืนมีหลากหลายรูปแบบที่พบในจังหวัดกาญจนบุรี ดังนี้

          1. วนเกษตร หมายถึงรูปแบบการเกษตรที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยการปลูกไม้ยืนต้นเป็นหลักร่วมกับพืชกสิกรรมสลับกันหรือปลูกในเวลาเดียวกันและอาจเลี้ยงสัตว์หรือไม่ก็ได้เห็นได้จากในจังหวัดกาญจนบุรี ต.ช่องสะเดา อ.เมือง นั้นก็ได้มีการปลูกป่าแบบวนเกษตรคือมีการปลูกป่าแบบอาศัยพรรณไม้ท้องถิ่น และมีที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าร่วมด้วย ซึ่งพรรณไม้ที่นำมาปลูกมีคุณสมบัติโตเร็ว อัตราการรอดตายสูงและเป็นพรรณไม้ที่ติดดอกออกผลเร็ว สามารถเป็นพืชอาหารสำหรับสัตว์ป่านานาชนิด

          2. เกษตรผสมผสาน คือ ระบบเกษตรที่มีการปลูกพืช หรือการเลี้ยงสัตว์หลายชนิดในพื้นที่เดียวกันกิจกรรมแต่ละชนิดจะต้องเกื้อกูลเป็นประโยชน์ต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในไร่นา เช่น ดิน น้ำ แสงแดด อย่างเหมาะสมเพื่อให้มีความสมดุลของสภาพแวดล้อม และเพิ่มพูนความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติเห็นได้จาก เกษตรผสมผสานบ้านหนองปลา ต.วังกระแจะ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี ได้มีการนำปลาเข้ามาร่วมกับระบบการปลูกข้าว ซึ่งมีทั้งในลักษณะการเลี้ยงปลาในนาข้าว และยังมีการผสมผสานระหว่าง พืช สัตว์ ปลา ซึ่งมีพื้นที่นาบางส่วนเป็นร่องสวนปลูกไม้ผลเลี้ยงปลาในร่องสวน และเลี้ยงสัตว์ปีก ในบริเวณโดยรอบใช้เศษอาหารจากพืชต่าง ๆ ในฟาร์ม ซึ่งนำมาทำเป็นอาหารให้แก่สัตว์ได้อีกด้วย

          3. การเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ คือระบบการเกษตรที่เน้นการจัดทรัพยากรน้ำเพื่อสร้างผลผลิตอาหารที่เพียงพอและเพื่อการผลิตที่หลากหลาย และสามารถทำให้มีสระน้ำเพื่อใช้ในการเพาะปลูกได้ตลอดปี มีผลผลิตอย่างมั่นคงถาวร แบบพอกิน พอใช้ ไม่อดอยาก และไม่ต้องร่ำรวยมากตามแบบเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งนี้ยังเป็นแหล่งรายได้ที่มั่นคงแก่ครัวเรือน ตลอดจนเป็นการแก้ไขปัญหาความยากจน มีหลักการคล้ายกับการเกษตรผสมผสานเพียงแต่การเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่จะมีการกำหนดพื้นที่ 30:30:30:10 ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดำริและพระราชทานให้ราษฏรยึดถือเป็นหลักในการทำการเกษตรดั่งในจังหวัดกาญจนบุรีก็เห็นได้จาก ไร่กล้อมแกล้ม อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรีที่ได้มีการยึดหลักการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่กล่าวคือไร่กล้อมแกล้มมีการจัดสรรพื้นที่และทรัพยากรพื้นที่ส่วนหนึ่งใช้ในการขุดสระกักเก็บน้ำเพื่อใช้ในการเก็บกักน้ำฝนในฤดูฝน และใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง การเลี้ยงสัตว์ และพืชน้ำต่างๆ พื้นที่อีกส่วนหนึ่งใช้ในการปลูกข้าว เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันสำหรับครัวเรือนให้เพียงพอตลอดปี โดยไม่ต้องซื้อหาในราคาแพง เป็นการลดค่าใช้จ่าย และสามารพึ่งพาตนเองได้ อีกส่วนหนึ่งใช้ในการปลูกผลไม้ ไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก พืชสมุนไพร อย่างผสมผสานกัน และหลากหลายในพื้นที่เดียวกัน เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือจากการบริโภคก็สามารถนำไปขายเพื่อเป็นรายได้เสริมให้แก่ครอบครัวตนเองได้ และอีกส่วนหนึ่งก็ใช้เป็นพื้นที่ที่อยู่อาศัย และการเลี้ยงสัตว์ ทั้งนี้มีการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง พอกิน พอใช้ พึ่งตนเอง และมัธยัสถ์ ตามหลักการเศรษฐกิจพอเพียงอีกด้วย

          4. เกษตรกรรมอินทรีย์ คือ รูปแบบการเกษตรที่หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีเกษตรอย่างเด็ดขาด โดยอาศัยหลักการควบคุมศัตรูพืช โดยอาศัยการปลูกพืช หมุนเวียน เศษซากพืช มูลสัตว์ พืชตระกูลถั่ว ปุ๋ยพื้นสด เศษซากเหลือทิ้งต่างๆ การใช้ ธาตุ อาหาร จากการผุพังของหินแร่โดยชีวภาพและเน้นการรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินให้เป็นแหล่งอาหารของพืช รวมทั้งเป็นการควบคุมศัตรูพืชต่างๆ ในจังหวัดกาญจนบุรี ตำบลหนองโรง อำเภอพนมทวน ก็ได้มีการทำเกษตรกรรมอินทรีย์เช่นเดียวกันเห็นได้จากการสยบเพลี้ยแป้งในไร่มัน นำแมลงช้างปีกใสไปปล่อยในแปลงปลูกมัน สำหรับในกรงนั้นตัวอ่อนที่เกิดมาจะโตขึ้นมาแทนตัวที่เราจับไปปล่อย แสดงถึงการการใช้ศัตรูธรรมชาติเพื่อป้องกันการระบาดของสัตว์ที่จะทำลายผลิตผลของเกษตรกรโดยหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีโดยใช้ศัตรูตามธรรมชาติมาควบคุมการระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง เพื่อเป็นการรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินซึ่งเป็นหลักสำคัญในการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตมีประโยชน์ในการปกดินและพืช และเป็นรากฐานที่สำคัญในการเจริญเติบโตของสิ่งต่างๆ
6.ประเด็นเรื่อง อุตสาหกรรมและหัตถกรรม

           อุตสาหกรรมและหัตถกรรมในท้องถิ่นของจังหวัดกาญจนบุรี อุตสาหกรรมเป็นการใช้เงินทุนและแรงงานไม่ว่าจะจากคนหรือเครื่องจักรเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีจำนวนมากโดยแบ่งออกเป็น 1.วิธีการแยก คือ การแยกจากสารสกัดจากธรรมชาติ การผลิต และการบริการ 2.ลักษณะและขนาดของกิจการ คือ ขนาดใหญ่ ขนาดย่อม และในครัวเรือน 3. วิธีการใช้ คือ สินค้าทุน และบริโภค 4. คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ คือ แบบถาวร กึ่งถาวร และไม่ถาวร หัตถกรรมเป็นใช้ทักษะฝีมือของภูมิปัญญาชาวบ้านโดยใช้วัสดุอย่างง่าย เช่นวัสดุจากธรรมชาติโดยแบ่งออกเป็นเครื่องหิน เครื่องกระดาษ เครื่องเหล็ก เครื่องถม เครื่องเงิน เครื่องทอง เครื่องไม้ เครื่องเขิน เครื่องปั้นดินเผา เพื่อนำมาเป็นเครื่องใช้สอยเป็นเครื่องใช้ต่างๆในชีวิตประจำวันซึ่งแสดงถึงวัฒนธรรมและศาสนา และยังส่งเสริมให้ชาวบ้านในท้องถิ่นมีอาชีพมีงานทำในภูมิลำเนาของตน มีการจัดตั้งกลุ่มสมาชิกเพื่อความสามัคคีของคนในพื้นที่นั้นๆ ซึ่งอุตสาหกรรมและหัตถกรรมในท้องถิ่นของจังหวัดกาญจนบุรีมีดังนี้ 



แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดกาญจนบุรี  ประเภท หัตถกรรมและอุตสาหกรรม
ประเภท
ชื่อเรื่อง
แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น
ที่อยู่
การทอ การย้อม การถัก การเย็บ
การทอผ้าพื้นเมือง
กลุ่มสตรีไม้กวาดบ้านห้วยเสือ
หมู่ ต.ชะแล  อ.ทองผาภูมิ
การทอ การย้อม การถัก การเย็บ
การทอผ้า
นางทองสุข  ไทรสังธิดากุล
53 หมู่ ต.โล่โว่  อ.สังขละบุรี
การทอ การย้อม การถัก การเย็บ
ผ้าทอย้อมสีธรรมชาติ
นางพรรษา  ลำไยนิโรช
27 หมู่ ต.เขาโจด อ.สรีสวัสดิ์
การทอ การย้อม การถัก การเย็บ
การทอผ้าฝ้ายลายกระเหรี่ยง
นางมะเส้ง  (ชาวกระเหรี่ยง)
ศูนย์ทอผ้า  หมู่ 4  ต.สะแล  อ.ทองผาภูมิ
การทอ การย้อม การถัก การเย็บ
ทอผ้าชุดพื้นบ้านด้วยมือ
นางมะเส่งเช็ง  สวัสดิ์ถนอม
หมู่บ้านองหลุ  หมู่3  ต.นาสวน  อ.ศรีสวัสดิ์
การทอ การย้อม การถัก การเย็บ
ผ้าบาติกที่เขียนลายด้วยมือ
นางวิไลพร เกิดวิเศษสิงห์
ศูนย์หัตถกรรมผ้าไหมบาติก
19/2 หมู่ 14 บ้านเขาพุ  อำเภอบ่อพลอย
การจักสาน
การผลิตเครื่องจักสานด้วยไม้ไผ่
นางจรี  ชื่นตา
32/1 หมู่ ต.ท่าขนุน  อ.ทองผา
การจักสาน
การสานกระด้งและทำไม้กวาด
นางเฉลียว  สัมฤทธิ์
445/5 หมู่ ต.ท่าขนุน อ.ทองผาภุมิ
การจักสาน
การสานแฝก
นางดารณี  ถิ่นขจร
หมู่ต.ศรีมงคล  อ.ไทรโยค
การจักสาน
การถักแห
นางทรงวุฒิ  เถกิลวิทย์สถาพร
หมู่ ต.โล่โว่ อ.สังขละบุรี
การจักสาน
การสานพัด
นางทวาย  ศิริเลิศ
96  หมู่ ต.ลุ่มสุ่ม  อ.ไทรโยค
การจักสาน
การสานเข่ง
นางมงคล  มารทอง
บ้านท่ากระดาน หมู่ ต.ท่ากระดาน  อ.สรีสวัสดิ์
การจักสาน
การสานด้วยไม้ไผ่
นายคำน้อย  ทองสุข
13/4 หมู่ ต.ห้วยเขย่ง  อ.ทองผาภูมิ
งานไม้และแกะสลักไม้
การทำเครื่องเรือนด้วยไม้
นายบุญโฮม  กองสิงห์
หมู่ ตงด่านแม่เฉลย  อ.ศรีสวัสดิ์
งานไม้และแกะสลักไม้
งานช่างไม้
นายแสน  บัวระภา
หมู่ ต.ชะแล  อ.ทองผาภูมิ  
งานแร่ เหล็กและโลหะ
การตีมีด
นายสุวิทย์  สุขศรี
12/7  หมู่ ต.ห้วยเขย่ง  อ.ทองผาภูมิ
งานแร่ เหล็กและโลหะ
อัญมณนิล
นางกิมไน้ สิริพฤกษา
284/31 ถนนแสงชูโต ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง
งานประดิษฐ์
การประดิษฐ์ดอกไม้แห้ง
นางกิ่งกาญจน์ องคะลอย
169/5 หมู่ ต.ท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ
งานประดิษฐ์
การประดิษฐ์ดอกไม้จากยางพารา
นางม่วย  ทรัพย์วัฒนไพศาล
91/3  หมู่ ต.ลิ่นถิ่น  อ.ทองผาภูมิ
งานประดิษฐ์
การตัดกระดาษแก้วและว่าวเป็นรูปต่างๆ
นางสาวสาหร่าย  พรายทอง
หมู่ บ้านทุ่งเรือโกลน  ต.ศรีมงคล  อ.ไทรโยค
เครื่องดนตรีไทย
ระนาดเอกและซอ
นายสมชัย ชำพาลี
49 หมู่บ้านเขาปูน ตำบลหนองหญ้า อำเภอเมือง
อาหาร
น้ำมะเม่าพร้อมดื่ม
นายสุธาเทพ เอื้อวาณิช
45/1 ตำบล หนองลู อำเภอสังขละบุรี
อาหาร
หมี่กรอบสมุนไพร
นางสาวจตุพร อินทรโสภา
230/3 ตำบลตะคร้ำเอน อำเภอท่ามะกา 
อาหาร
หมูร้าทรงเครื่อง
นางบุญเทียม คุณากรประพันธ์
121/10 หมู่ที่ ตำบลบ่อพลอย อำเภอบ่อพลอย 
ของใช้
เบญจรงค์ลายไทย
นายพงษ์ศักดิ์ พิลาสกุล
66/18 หมู่ที่ ตำบลหวายเหนียว อำเภอท่ามะกา
ของใช้
รองเท้าดุดฝุ่น
คุณภัทรกมล จรูญรัตน์
99/14 บ้านทุ่งทอง หมู่ อำเภอท่าม่วง


 

7.ประเด็นเรื่อง การแพทย์แผนไทย

           ในเรื่องสมุนไพร ชาวบ้านในจังหวัดกาญจนบุรี มีการใช้ภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษ เกี่ยวกับการใช้สมุนไพรในชีวิตประจำวันและวิถีชีวิตของคนในชุมชน สรรพคุณเพื่อที่จะนำมารักษาโรค ฟื้นฟู การผลิตยาแผนไทยเพื่อนำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วย ควบคู่ไปกับการรักษาโรคแผน ผสมผสานกันไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะนำศักยภาพและความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรของชาวบ้านในจังหวัดกาญจนบุรี การใช้ภูมิปัญญาเกี่ยวกับสมุนไพรเพื่อที่จะนำมาใช้กับแพทย์แผนไทย 3 ประเภท ได้แก่

 1.หัตถบำบัด การนวดไทย จังหวัดกาญจนบุรีได้จัดโครงการฟื้นฟูการนวดไทย โดยมีทั้งหัตถบำบัด(การนวดแบบไทย) การประคบ ด้วยสมุนไพร และการอบสมุนไพร มีบริการห้องนวดแผนไทยสำหรับผู้ต้องการผ่อนคลายความเมื่อยล้า ส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมสปาตะวันตก (หัตถบำบัด) จากกรมส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน และ โครงการพัฒนาบุคลากร ด้านสปาและบริการสุขภาพ สาขาสปาไทย จากวิทยาลัยอาชีวศึกษากาญจนบุรี 2.การประคบสมุนไพร การประคบสมุนไพร เป็นวิธีการบำบัดรักษาของการแพทย์แผนไทยซึ่งสามารถนำไปใช้ควบคู่กับการนวดไทย โดยการประคบหลังจากการนวดไทย โดยใช้สมุนไพรมาห่อด้วยผ้าเป็นลูก เรียกว่า ลูกประคบ นำลูกประคบไปนึ่งให้ร้อนแล้วนำมาประคบบริเวณที่ปวดหรือเคล็ด ขัดยอก จะช่วยบรรเทาอาการ ปวดเคล็ดขัดยอกได้ สมุนไพรที่ใช้ทำลูกประคบส่วนใหญ่เป็นสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหย เมื่อประคบตัวยาเหล่านั้นจะซึมเข้าในผิวหนัง ช่วยรักษาอาการเคล็ด ขัดยอก และอาการปวด นอกจากเน้นแล้ว ความร้อนจากลูกประคบจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น ช่วยให้ตัวยาซึมผ่านผิวหนังได้ดีขึ้น ทั้งกลิ่นจากน้ำมันหอมระเหยยังช่วยให้เกิดความสดชื่นด้วย หากแต่ว่าที่จังหวัดกาญจนบุรีมีการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการประคบสมุนไพร แต่ปัจจุบันการประคบสมุนไพรได้ถูกนำไปใช้ในโรงแรมหรือรีสอร์ท บริเวณที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดกาญจนบุรี ให้ชาวบ้านเหล่านั้นได้มีรายได้เพิ่มอีกด้วย 3.การอบสมุนไพร การอบสมุนไพร เป็นวิธีการบำบัด และบรรเทาอาการของโรคของการแพทย์แผนไทย โรคหรืออาการที่สามารถบำบัดรักษาได้ด้วยการอบสมุนไพร มีดังนี้ โรคภูมิแพ้ที่ไม่รุนแรง ความดันโลหิตสูง เป็นหวัดเรื้อรัง อัมพฤกษ์ - อัมพาต ในระยะเริ่มแรก ปวดเมื่อยตามร่างกายทั่วๆ ไป กรณีที่มีอาการเวียนศีรษะ หน้ามืดร่วมด้วยไม่ควรทำการอบสมุนไพร ที่วัดดงสัก ต.พงตึก อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรีจะมีการใช้ภูมิปัญญาเกี่ยวกับการอบสมุนไพรด้วย

8.ประเด็นเรื่อง โภชนา


          จังหวัดกาญจนบุรีเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีผู้คนจากต่างถิ่นมาอาศัยอยู่มากมายทำให้เกิดความหลากหลายทางวัฒนธรรมประเพณี รวมถึงการบริโภคอาหารด้วยเช่นกัน เนื่องจากในแต่ละพื้นที่ของจังหวัดกาญจนบุรีมีพืชพันธุ์ต่างๆ มากมายที่สามารถนำมาประกอบเป็นอาหารได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับการคิดจะดัดแปลงสิ่งนั้นให้มีประโยชน์และมีคุณค่ามากขึ้น ผู้คนจากแต่ละพื้นที่ในจังหวัดกาญจนบุรีย่อมมีแนวคิดที่ต่างกันออกไปตามพื้นที่ที่ตนเองอยู่ และการประกอบอาหารย่อมแตกต่างกันด้วย หรือที่เรียกกันว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นนั่นเอง ผลิตภัณฑ์ในจังหวัดกาญจนบุรีซึ่งเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้าน ที่นำเอาพืช ผัก ผลไม้ที่พบมากตามชุมชนของตนนำมาสรรค์สร้างเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปขึ้นมา เช่น น้ำมะเม่าพร้อมดื่ม เป็นพืชสมุนไพรที่พบมากตามแถบอำเภอสังขละบุรี มีสรรพคุณทางสมุนไพรและคุณค่าทางอาหารมากมาย สามารถแปรรูปเป็นไวน์หรือน้ำผลไม้ก็ได้ กุนเชียงปลายี่สก เป็นผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่ออย่างหนึ่งของจังหวัดกาญจนบุรี เนื่องด้วยเนื้อปลามีลักษณะนุ่ม และรสชาติดี พบมากในแม่น้ำแม่กลอง จังหวัดกาญจนบุรี กล้วยหยี เป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกคิดปรับปรุงขึ้นจนเป็นที่นิยม มีรสชาติแปลกอร่อย ไม่ซ้ำแบบใครและมีคุณค่าทางอาหารด้วย พบมากที่อำเภอไทรโยค สับปะรดกวน เนื่องจากอำเภอบ่อพลอยเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกสับปะรดมาก จึงมีการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่เกษตรกรผู้เพาะปลูก หมูพะโล้แดดเดียว เป็นการดัดแปลงให้เกิดประโยชน์มากขึ้น และยังช่วยลดการเกิดโรคเอ๋อ โรคคอหอยพอกอีกด้วย พบมากตามอำเภอไทรโยค จมูกข้าวรุ่งอรุณ เป็นการคิดค้นดัดแปลงของเกษตรกรชาวนา เพื่อเพิ่มมูลค่าและหลีกเลี่ยงปัญหาการกดราคาข้าว โดยการนำมาแปรรูป และยังเป็นอาหารที่ให้พลังงานและบำรุงร่างกายให้แข็งแรงปราศจากโรคอีกด้วย พบมากในจังหวัดกาญจนบุรี ผลิตภัณฑ์ที่กล่าวมาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดกาญจนบุรีเท่านั้น ภูมิปัญญาท้องถิ่นแต่ละที่ย่อมมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และทรัพยากรที่มีในแต่ละชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกิดขึ้น ก็เป็นทางหนึ่งที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร เป็นการเพิ่มมูลค่าของพืชพันธุ์ให้เพิ่มมากขึ้นด้วย

 9.ประเด็นเรื่อง กองทุนและกิจกรรมชุมชนจังหวัดกาญจนบุรีมีการรวมตัวกันของประชาชนเพื่อจัดตั้งกลุ่มสหกรณ์ เป็นองค์การปกครองตนเองของบรรดาบุคคลซึ่งรวมกลุ่มกันด้วยความสมัครใจเพื่อสนองความต้องการที่จำเป็นและความหวังร่วมกันทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมโดยการดำเนินวิสาหกิจที่สมาชิกในกลุ่มสหกรณ์เป็นเจ้าของร่วมกันซึ่งก็คือธุรกิจรูปหนึ่งที่มีการประกอบธุรกิจเช่นเดียวกับธุรกิจรูปอื่นๆ โดยใช้ปัจจัย 4 คือ คน เงิน ทรัพยากร และการจัดการเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมซึ่งสหกรณ์เป็นองค์การแห่งความสมัครใจเปิดรับบุคคลทั่วไปที่สามารถใช้บริการสหกรณ์ได้และเต็มใจจะรับผิดชอบในฐานะสมาชิก การเข้าเป็นสมาชิกจะไม่มีการแบ่งเพศ ชนชั้น เชื้อชาติ การเมือง หรือศาสนาไม่ว่าใครก็สามารถมาเป็นส่วนหนึ่งได้

ในจังหวัดกาญจนบุรีจะมีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 6 ประเภท คือ สหกรณ์เพื่อการเกษตร สหกรณ์ประเภทนิคมสหกรณ์ประเภทร้านค้า สหกรณ์เพื่อการบริการ สหกรณ์ออมทรัพย์ และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนตัวอย่างของสหกรณ์ในเขตการปกครองของแต่ละอำเภอ มีดังนี้

1. สหกรณ์เพื่อการเกษตร คือสหกรณ์การเกษตรท่าม่วง จำกัด   ซึ่งมีนางสาววิภาศิริบุญเถิดเป็นผู้จัดการสหกรณ์ตั้งอยู่ที่ตำบลวังขนายอำเภอท่าม่วงจังหวัดกาญจนบุรีมีข้อมูลการเกษตรคือ  ชื่อพืชผักและผลไม้ต้องตรวจสารพิษก่อนส่งออกการใช้สารเคมีเพื่อความปลอดภัยข้อมูลการเกษตรต่างๆพืชทดแทนพลังงานข้อมูลผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพไผ่พืชเอนกประสงค์แหล่งอนุรักษ์พันธุ์พืชและจุลินทรีย์ถัวเหลืองเทคโนโลยีข้อมูลดินปุ๋ยให้บริการอยู่

2. สหกรณ์ประเภทนิคมคือสหกรณ์นิคมทองผาภูมิจำกัดซึ่งมีนายวิเชียร คล้ายคลึงเป็นผู้จัดการสหกรณ์ตั้งอยู่ในตำบลสหกรณ์นิคมอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี มีการรวบรวมยางพาราแผ่นดิบและได้เปิดรับซื้อยางพาราแผ่นดิบโดยวิธีการประมูล

3. สหกรณ์ประเภทร้านค้า คือ ร้านสหกรณ์ค่ายกาญจนบุรีซึ่งมีนายภิรมย์อินสว่างเป็นผู้จัดการสหกรณ์ตั้งอยู่ในตำบลลาดหญ้าอำเภอเมืองกาญจนบุรีจังหวัดกาญจนบุรี มีการขายและจำหน่ายของชำและของใช้ประจำวันทั่วไป

4. สหกรณ์เพื่อการบริการ คือ สหกรณ์บริการเดินรถทองผาภูมิจำกัดซึ่งมีนายรัชพลวิทยประพัฒน์เป็นผู้จัดการสหกรณ์ตำบลท่าขนุนอำเภอทองผาภูมิจังหวัดกาญจนบุรี มีบริการเดินรถจากทองผาภูมิ - บ้านห้วยเสือช่วงทองผาภูมิ บ้านวังขนาย ทองผาภูมิ - บ้านอีต่องและทองผาภูมิ - บ้านหินแหลม - บ้านสะพานลาว

5.สหกรณ์ออมทรัพย์ คือ สหกรณ์ออมทรัพย์ชลประทานแม่กลองจำกัดซึ่งมีนายสมบัติพงสมบัติเป็นคณะกรรมการสหกรณ์ตั้งอยู่ในตำบลม่วงชุมอำเภอท่าม่วงจังหวัดกาญจนบุรี มีการบริการคือรับฝากเงินจากสมาชิกหรือสหกรณ์อื่นรวมทั้งให้สหกรณ์อื่นกู้ยืมเงินและให้สวัสดิการและการสงเคราะห์ตามสมควรแก่สมาชิกและครอบครัว

6. และสหกรณ์ เครดิตยูเนี่ยน คือสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนทองผาภูมิจำกัดซึ่งมีนายจักรี สุจริตธรรมเป็นอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ของจังหวัดกาญจนบุรีตั้งอยู่ที่ตำบลท่าขนุนอำเภอทองผาภูมิจังหวัดกาญจนบุรีมีการบริการคือระดมเงินออมเพื่อใช้สำหรับเป็นทุนให้บริการแก่สมาชิกในรูปแบบของสินเชื่อโดยคิดอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมและไม่เน้นผลกำไรสูงสุดผลกำไรที่ได้จะถูกจัดสรรเป็นสวัสดิการต่างๆให้แก่สมาชิก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น