2555/02/10

ฟันคุด

ฟันคุด

ฟันเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งในระบบย่อยอาหาร หน้าที่หลักของฟันคือ ฉีก บด อาหารให้คลุกเคล้ากับน้ำลาย และนอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการพูดออกเสียงด้วย ฟันจริงๆของพวกเราจะมีฟันแท้จำนวน 32 ซี่  แต่ถ้าหากนับกันจริงๆแล้วมนุษย์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันมักจะมีฟันแท้ในช่องปากเพียง 28 ซี่  ฟัน 4 ซี่ที่เหลือมิได้หายไปไหนเพียงแต่จะฝังอยู่ในขากรรไกร อาจจะโผล่มาได้บ้างหรือไม่โผล่ออกมาเลยก็ได้ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะมนุษย์สมัยก่อนขากรรไกรใหญ่และกว้างพอที่จะบรรจุฟันทั้ง 32 ซี่ได้ พอมาในสมัยปัจจุบันเราได้ลดการใช้กำลังขากรรไกรลง มนุษย์ในยุคปัจจุบันนี้จึงเล็กลงจนมีที่ไม่พอที่จะบรรจุฟันให้ครบ 32 ซี่ เหมือนในอดีต
1. ประเด็นเรื่อง ความหมายของฟันคุด
              ฟันคุด คือฟันที่งอกออกมาจากกรามไม่ได้  ฟันที่ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติในช่องปาก อาจจะโผล่ขึ้นมาได้เพียงบางส่วน หรือฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรทั้งซี่ ฟันนั้นจะคุดอยู่ภายในกระดูกขากรรไกร ไม่สามารถงอกขึ้นมาในปากตามทิศทางปกติได้ จึงเป็นที่มาของศัพท์ ฟันคุด  ฟันซี่ที่พบว่าเป็นฟันคุดบ่อยที่สุด คือ ฟันกรามล่างซี่สุดท้าย ซึ่งอยู่ด้านในสุดของกระดูกขากรรไกรล่าง โดยปกติแล้วฟันซี่นี้ควรจะขึ้นในช่วงอายุ 18 - 25 ปี อาจโผล่ขึ้นอยู่ในลักษณะตั้งตรง เอียง หรือนอนในแนวระนาบ และมักจะอยู่ชิดกับฟันข้างเคียงเสมอ นอกจากนี้ฟันซี่อื่น ๆ ก็อาจจะคุดได้ เช่น ฟันเขี้ยว ฟันกรามน้อยแต่พบได้น้อยกว่าฟันกรามล่างซี่สุดท้าย  เพราะไม่มีที่จะให้งอกออกมาหรือ  ฟันที่ขึ้นไม่ได้หรือขึ้นได้เพียงบางส่วน  ก็อาจเนื่องมาจากสมัยอดีตกาลมนุษย์มีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องเพื่อดำรงชีวิตให้อยู่ได้กับธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ อย่างเช่นสมัยอดีตกาล มนุษย์มีกรามและฟันที่มีขนาดใหญ่และเคยใช้งานเพื่อกัดและฉีกอาหารที่เหนียว เช่น เนื้อดิบ รากไม้ นั้น ปัจจุบันมนุษย์ได้ลดการใช้ฟันในลักษณะดังกล่าวลง จึงทำให้ฟันและกรามมีขนาดเล็กลง ไม่มีพื้นที่พอจะให้ฟันกราม (Molar) ซี่สุดท้ายงอกออกมาได้ จึงทำให้เกิดฟันคุดขึ้น  ฟันคุดที่พบได้บ่อยที่สุดและขึ้นหลังสุดแบ่งเป็น 7 ชนิด ตามการเอียงตัว
   mesio angular
   disto angular
   vertical
    horizontal
    bucco angular
   linguo angular
   inverted


ฟันคุดล่างอยู่ที่ส่วนท้ายของกระดูกขากรรไกรด้านลิ้นจะมี lingual nerve อยู่ล่างและหลังต่อฟันคุดชิดกับเยื่อหุ้มกระดูกที่คลุมกระดูกด้านลิ้นของฟันคุดหาก lingual plate แตกขณะถอนฟันคุดก็อาจทำอันตรายต่อ lingual nerve ทำให้เกิดการชาที่ปลายลิ้นของข้างเดียวกันได้
ฟันคุดบนอยู่ตรง tuberosity  เป็นส่วนของกระดูกขากรรไกรที่ไม่แข็งหาก tuberosity แตกขณะถอนฟันคุดก็อาจเกิดอันตรายต่อ posterior superior alveolar nerve ได้ แบ่งตามการเอียงตัวดังนี้


.Mesio  angular                .Disto  angular                 . Vertical            . Horizontal
.Bucco  angular                .Palato  angular                             ช. Inverted
ฟันคุดซี่เขี้ยว     พบในขากรรไกรบนมากกว่าขากรรไกรล่าง                                                                
แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด
1.             ฟันคุดอยู่ด้านนอก (รูปข.)
2.             ฟันคุดอยู่ด้านเพดานหรือด้านลิ้น (รูปก.)
3.             ฟันคุดฝังอยู่ทั้งสองด้านตัวฟันอยู่ด้านนอกรากอยู่ด้านในหรือกลับกัน (รูปค.)
นอกจากนี้อาจแบ่งตามการเอียงตัวเป็นชนิดvertical, oblique หรือhorizontal




  
ฟันคุดซี่กรามเล็ก     อาจเป็นแบบ  vertical  หรือ  horizontal  ในขากรรไกรบนมักอยู่ทางด้านเพดาน  และในขากรรไกรล่างมักอยู่ทางด้านลิ้น
ฟันคุดเกิน   อาจมีรูปร่างเหมือนฟันแท้หรือมีรูปร่างผิดปกติในโรค Cleidocranialdysostosis มักพบฟันคุดเกินในบริเวณฟันหน้าและฟันกรามเล็กฟันแท้ที่ปกติมักคุดอยู่หลายซี่
2. ประเด็นเรื่อง สาเหตุการเกิดฟันคุด
                 ปกติแล้วฟันของคนเราจะงอกขึ้นมาในปากอย่างเป็นระเบียบ เรียงตัวกันเรียบร้อย เพื่อให้เหมาะกับงานบดเคี้ยว โดยฟันล่างก็งอกขึ้นบน และฟันบนก็ย้อยลงล่าง เพื่อให้สามารถสบฟันได้ ทั้งฟันหน้าและฟันหลัง แต่ในสภาวะที่ไม่ปกติ ฟันบางซี่งอกขึ้นมาในปากไม่ได้ โดยอาจไม่มีช่องว่างพอ หรือมีความผิดปกติของร่างกายบางประการที่เป็นผลให้หน่อฟันวางตัวไม่เป็นระเบียบ เมื่อถึงระยะเวลาที่ฟันจะงอกขึ้นมาในปาก ฟันซี่นั้นๆ ก็งอกตามปกติไม่ได้นี้จึงเป็นสาเหตุหลักของการเกิดฟันคุดที่ทุกคนเมื่อเติบใหญ่ขึ้นมาต้องประสบกับปัญหานี้ แต่การเกิดฟันคุดไม่ได้มีเพียงแค่การเกิดจากไม่พื้นที่ว่างพอที่จะให้ฟันเกิดขึ้น  แต่ยังเกิดจากการที่ฟันมีรากโค้งมากเกินไปจนทำให้เกิดการล็อคตัวเองในขากรรไกรหรืออาจเกิดจากการที่มีฟันซี่อื่นขวางอยู่  ซึ่งมักพบในฟันกรามน้อยล่างซี่ที่สองเนื่องมาจากการถอนฟันน้ำนมซี่ที่สองก่อนเวลาอันควร หรือจะมีสาเหตุจากฟันซี่นั้นล้มเอียงอยู่ในขากรรไกร เป็นกรณีที่พบมากที่สุด และมักเกิดกับฟันกรามแท้ล่างซี่ที่3 นอกจากนี้ยังมีสาเหตุมาจากขนาดของฟันและขากรรไกรไม่ได้สัดส่วนกันซึ่งกันและกัน และแนวแกนของฟันที่ที่มีแนวแกนที่ผิดปกติ และสุดท้ายเชื่อว่าฟันคุดอาจเกิดจากพันธุกรรมก็เป็นได้
3. ประเด็นเรื่อง อาการปวดของฟันคุด
            ฟันคุดคือฟันซี่ที่โผล่ขึ้นมาจากเหงือกเพียงบางส่วน  ฟันซี่ที่พบว่าเป็นฟันคุดบ่อยที่สุด คือ ฟันกรามล่างซี่สุดท้าย ซึ่งอยู่ด้านในสุดของกระดูกขากรรไกรล่าง  นอกจากนี้ฟันซี่อื่น ๆ ก็อาจจะคุดได้ เช่น ฟันเขี้ยว ฟันกรามน้อยแต่พบได้น้อยกว่าฟันกรามล่างซี่สุดท้ายจะออกมาตอนช่วงอายุระหว่าง18 ถึง 20 ปีเมื่อสังเกตพบฟันต้องสงสัย ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อเข้ารับการเอกซเรย์ หากมีฟันคุดจะทำให้ทราบว่าฟันคุดนั้นมีลักษณะเป็นแบบตั้งตรง เอียง หรือฝังอยู่ใต้เหงือกในแนวนอน ทั้งยังเป็นการบ่งบอกถึงความยาก-ง่ายของการถอนหรือผ่าออก
อาการของฟันคุดที่เกิดขึ้นนั้นมีหลายสาเหตุ เช่น ปวดบริเวณฟันและเหงือก  โดยไม่รู้สาเหตุ  การอักเสบติดเชื้อ  เนื่องจากการสะสมแบคทีเรีย บางรายมีอาการอักเสบแบบเป็น ๆ หาย ๆ โดยเชื้อแบคทีเรียมีโอกาสก่อตัวเป็นเนื้อร้ายได้หรือแม้กระทั่งการที่เรามีกลิ่นปาก เนื่องจากได้มีเศษอาหารไปติดตามบริเวณซอกฟัน และอาจจะทำให้ฟันที่อยู่บริเวณข้างเคียงกัน เกิดอาการผุได้การเข้ารับผ่าตัดตั้งแต่ระยะแรกนั้นช่วยให้สามารถหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาต่างๆที่จะเกิดขึ้นในภายหลัง
ทำไมฟันคุดจึงมีอาการปวด
               ไม่ว่าจะเป็นฟันคุดในลักษณะใดก็ตาม มักเป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดฟันอย่างรุนแรงได้เสมอ ทั้งนี้เนื่องจากฟันคุดที่อยู่ภายในกระดูกขากรรไกรนี้ อาจไปกดทับประสาทหรือเส้นเลือดข้างใต้ฟัน หรืออาจเกิดจากฟันคุดที่งอกได้บางส่วน แต่ยังคงมีส่วนของเหงือกปกคลุมอยู่ด้านบน เหงือกส่วนนี้ไม่ได้รัดแน่นกับตัวฟันตามปกติ มีช่องว่างระหว่างตัวฟันคุดบางส่วนกับเหงือก ทำให้เศษอาหารเข้าไปอุดภายในช่องว่างนี้ และทำความสะอาดไม่ได้ทั่วถึง ในบริเวณนี้ก็อาจติดเชื้อจากเชื้อจุลินทรีย์ชนิดต่างๆในช่องปาก ทำให้เกิดการอักเสบ และเป็นสาเหตุของการปวดฟันได้รุนแรงมากประการหนึ่ง
การปวดฟันจากฟันคุด อาจเกิดจากบริเวณตัวฟันคุดที่โผล่งอกขึ้นมาบางส่วน และไปชนกับฟันกรามซี่ข้างเคียง เนื่องด้วยบริเวณตัวฟันด้านบดเคี้ยวของฟันกราม มักเป็นลักษณะเป็นหลุมและร่องฟัน จึงเป็นที่กักเศษอาหารได้เป็นอย่างดี แต่เมื่อไม่ได้ใช้ในการบดเคี้ยวตามปกติ บริเวณนี้จึงเกิดฟันผุได้ง่าย และถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที ฟันผุอาจลุกลามมากจนทะลุประสาทฟัน เป็นสาเหตุให้ปวดฟันอีกประการหนึ่งด้วย
4.ประเด็นเรื่อง การรักษาฟันคุด
              การรักษาฟันคุดทำได้โดยการถอนออกและการผ่าออกถึงแม้ว่าจะไม่มีอาการเจ็บปวด การถอนออกบางครั้งมีความจำเป็นที่จะต้องผ่าตัดเหงือกร่วมกับการกรอกระดูกบ้าง อย่างที่เราเคยได้ยินกันว่า ผ่าฟันคุด สำหรับบางรายที่จำเป็นต้องผ่าฟันคุดในฟันกรามล่างซี่ที่สาม อาจจำเป็นต้องถอนฟันกรามบนซี่ในสุดไปด้วย (ถ้ามี) เพราะฟันซี่นี้ไม่มีฟันคู่สบเนื่องจากถูกถอนออกไปแล้ว บางครั้งอาจจะเป็นโทษอีกด้วย เพราะอาจจะกัดลงมาโดนเหงือกด้านล่างทำให้เป็นแผลอักเสบ  แต่ทั้งนี้ถ้าเป็นผู้สูงอายุและไม่เคยมีอาการใดๆ มาก่อนเลยก็ไม่จำเป็นต้องเอาออก จะเห็นว่าการเก็บฟันคุดไว้อาจจะเกิดอันตรายต่อตัวเองได้ นอกจากนี้แม้ว่าฟันคู่ล่างของฟันคุดด้วย ก็ควรถอนออกด้วยเมื่อถอนฟันคุดออกแล้ว เพราะฟันซี่นั้นไม่มีประโยชน์ทำความสะอาดยาก เมื่อทิ้งไว้นานๆ มันอาจจะยื่นยาวมาสบกระแทกเหงือกตรงข้าม ทำให้อักเสบได้                                               
ขั้นตอนการผ่าฟันคุด
1. ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยและวิเคราะห์โรค   ทันตแพทย์จะทำการตรวจในช่องปากและพิจารณาถึงความจำเป็นในการถอนฟันในบางกรณีการถ่ายเอ๊กซเรย์อาจมีความจำเป็นเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาซึ่งสามารถบอกสภาพฟัน รากฟันและกระดูกรองรับฟันได้  ทันตแพทย์จะทำการจดบันทึกข้อมูลและประวัติด้านสุขภาพของผู้ป่วย ซึ่งผู้ป่วยควรให้ข้อมูลด้านสุขภาพของตนที่ถูกต้องและครบถ้วน โดยเฉพาะปัญหาที่เคยเกิดขึ้นเมื่อได้รับการถอนฟัน ปัญหาการหยุดไหลของเลือด ปัญหาสุขภาพเช่นโรคตับ และโรคเบาหวาน และการแพ้อาหารและยาประเภทต่างๆ เป็นต้น
2. การเตรียมบริเวณที่จะทำการผ่าตัด   ทันตแพทย์จะทำการฉีดยาชาบริเวณที่จะทำการผ่าตัดให้ทำ inferior alveolar และ lingual nerve block ร่วมกับ buccal nerve block (ฉีดตรง external oblique ridge เหนือocclusal plane)  และ local infiltration เสริมด้านนอกบริเวณฟันคุดเพื่อไม่ให้เลือดออกมาก
3. ขั้นตอนการผ่าตัด
- การผ่าตัดเปิดเหงือก
- การถอนฟันคุดออก
- การเย็บปิดปากแผล
5. ประเด็นเรื่อง การป้องกันการปวดฟันจากฟันคุด
             ฟันคุดนี้อาจเกิดขึ้นกับใครก็ได้ โดยเฉพาะคนวัยหนุ่มสาวที่แม้ฟันซี่อื่นในปากจะสมบูรณ์ดีไม่ผุหรือเหงือกไม่อักเสบ ก็อาจมีอาการปวดฟันจากฟันคุดได้ การป้องกันจึงจำต้องได้รับการตรวจอย่างละเอียดจากทันตแพทย์ ซึ่งในบางกรณีอาจต้องใช้การถ่ายรูปเอกซเรย์ช่วยในการพิเคราะห์ด้วย   ฟันคุดหากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้เกิดอาการปวดฟันรุนแรงได้ จะได้รับการแนะนำให้ถอนฟันคุดนั้นออกทั้งที่ไม่มีอาการ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ต้องรับความทรมานจากการปวดฟันคุดในอนาคต
               การถอนฟันคุดโดยที่ยังไม่มีอาการ เป็นการป้องกันการปวดฟันประการหนึ่งนั่นเอง   การถอนฟันคุดไม่ง่ายแบบการถอนฟันธรรมดา เพราะดังได้กล่าวข้างต้นแล้วว่าฟันคุดเป็นฟันที่ซ่อนอยู่ภายในกระดูกขากรรไกร ไม่ได้งอกขึ้นมาตามปกติ จึงไม่สามารถใช้คีมถอนฟันคีบออกได้สะดวก การถอนฟันคุดจึงเป็นลักษณะของการผ่าตัดเล็กชนิดหนึ่ง เพราะอาจต้องตัดกระดูกบางส่วนออก เพื่อให้มีช่องว่างในการหยิบฟันคุดออกได้ หรืออาจตัดส่วนของฟันคุดให้เป็นชิ้นส่วนเล็กๆ เพื่อให้สามารถเอาออกได้โดยสะดวก  การถอนฟันคุดในบางครั้ง จึงมักต้องใช้เวลานาน และอาจมีอาการปวด บวม ภายหลังการถอนฟันได้ด้วย แต่ในปัจจุบัน โดยที่อุปกรณ์ในการทำฟัน โดยเฉพาะทางด้านศัลยกรรมได้พัฒนาไปมาก ประกอบกับยาแผนปัจจุบันที่ได้ผลดี ทำให้อาการภายหลังถอนฟันคุดไม่รุนแรงนัก ในบางกรณี ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางศัลยกรรมช่องปากอาจแนะนำให้ถอนฟันคุดออกพร้อมกันทั้ง 2 ด้าน เพื่อป้องกันไม่ให้ต้องมาปวดภายหลังการถอนฟันหลายครั้งด้วย และต้องไม่ลืมว่า ถ้าจะถอนฟันคุด ควรไปรับการถอนในขณะที่ฟันยังไม่มีอาการปวด เพราะเมื่อปล่อยไว้จนอักเสบ ปวดมากแล้ว แม้จะต้องการถอนในทันทีทันใด เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด ก็จะไม่สามารถถอนฟันในขณะนั้นได้  การตรวจฟันและการเอกซเรย์ขากรรไกร จึงเป็นการตรวจค้นฟันคุดที่ได้ผล และถ้าได้รับการถอนฟันคุดในเวลาที่เหมาะสมและได้รับการดูแลรักษาฟันและเหงือกให้แข็งแรงสมบูรณ์ดีแล้ว เราก็จะมีสุขภาพในช่องปากดีถ้วนหน้า และยังจะช่วยส่งเสริมให้สุขภาพทางกายและใจดีขึ้นอีกด้วย
6. ประเด็นเรื่อง การปฏิบัติตัวหลังได้รับการรักษา
          เมื่อเราได้รับการผ่าตัดฟันคุดแล้ว เราควรหมั่นดูแลรักษาฟันใของเราห้ดีเพื่อประโยชน์แก่ฟันของเราเอง  หากเราได้รับการรักษาแต่ไม่ปฎิบัติตัวตามขิ้วิธีที่ถูกต้อง ก็จะทำให้ฟันคุดกลับมาเป็นอีกครั้งได้  ข้อปฎิบัติหลังจากการผ่าฟันคุดมีดังนี้
1. หลังจากการถอนฟันหรือผ่าตัด ให้กัดผ้าก๊อซให้แน่นพอสมควรไว้ 1 ชั่วโมงแล้วคายผ้าทิ้ง หากมีเลือดไหลออกมาอีกให้กัดผ้าที่สะอาดใหม่อีก 1 ชั่วโมง
2. ถ้าเลือดไหลไม่หยุด ควรใช้น้ำแข็งห่อประคบนอกปากบริเวณถอนฟันหรือบริเวณแผลผ่าตัด ห้ามไม่ให้อมน้ำแข็งเด็ดขาด
3. ห้ามบ้วนน้ำหรือน้ำยาใดๆ ในวันแรก วันต่อไปใช้น้ำยาบ้วนปากหรือน้ำเกลืออุ่นๆ โดยผสมน้ำอุ่น 1 แก้วกับเกลือ ½ ช้อนชา บ้วนเบาๆ โดยเฉพาะภายหลังทานอาหาร
4. สามารถแปรงฟันได้ตามปกติ แต่ต้องระวังบริเวณแผลที่ถอน หรือผ่าตัด
5. ถ้าปวดให้รับประทานยาแก้ปวดครั้งละ 1-2 เม็ด และถ้าอาการปวดไม่หายให้รับประทานใหม่ โดยให้เวลาห่างกัน 4 ชั่วโมง
6. ห้ามเอานิ้วมือ ไม้จิ้มฟัน แตะเขี่ยบริเวณแผลและห้ามดูดแผลเล่น
7. ทำงานประจำวันได้ แต่อย่าออกกำลังกายเกินควร
8. ให้รับประทานของอ่อนๆห้ามรับประทานอาหารที่เผ็ดจัดหรือร้อนจัด และห้ามดื่มสุราหรือของมึนเมา
9. ถ้ามีอาการบวมหรือรู้สึกอาการผิดปกติควรกลับมาให้ทันตแพทย์ตรวจดูใหม่
10. ในกรณีที่เป็นแผลผ่าตัดหรือแผลผ่าฟันคุด จะมีการเย็บแผลไว้ ให้กลับมาตัดไหมภายหลัง ประมาณ 5-7วัน
หลังจากผ่าตัดฟันคุดแล้ว ควรกัดผ้าก๊อซไว้ก่อน  อย่าถุยน้ำลายทิ้ง  แนะนำให้บริหารขากรรไกรโดยให้พยายามให้อ้าปากให้กว้างเท่าเดิม และแปรงฟันในบริเวณใกล้เคียงกับแผลผ่าฟันคุดให้สะอาด เพื่อลดการเกิดการสะสมของคราบจุลินทรีย์และเศษอาหารเราอาจจะมีอาการบวมตรงแก้มหรือช้ำ และในที่สุดมันก็จะหายไปเอง และเราควรรับประทานของอ่อนๆ ไปก่อน อีก 7 วันก็มาพบทันตแพทย์อีกครั้งเพื่อดูแผลผ่าตัดและตัดไหม
7. ประเด็นเรื่อง ผลเสียที่เกิดจากฟันคุด
              เป็นฟันที่ขึ้นไม่ได้เต็มซี่ และชนฟันข้างเคียง จึงทำให้เกิดซอกฟันซึ่งง่ายต่อการติดของเศษอาหารและคราบหินปูนจึงทำให้ฟันผุในตัวของฟันคุดเอง ซึ่งอาจมีโอกาสเกิดการอักเสบ ทำให้ปวด จึงก่อให้เกิดผลเสียต่าง ๆ ตามมา เมื่อมีฟันคุดงอกขึ้นมาแล้ว เช่น ฟันผุ  เหงือกอักเสบ ทำให้ปวดฟันนอกจากนั้น ยังพบว่าฟันข้างเคียงจะผุง่าย เนื่องจากเศษอาหารติดง่าย และทำความสะอาดยาก ฟันคุดมีแรงดันต่อฟันข้างเคียง ทำให้มีการละลายของรากฟันซี่นั้นๆ ปวดบริเวณกระดูกขากรรไกร เนื่องจากการติดเชื้อปวดบริเวณกระดูกขากรรไกร นอกจากนี้ยังมีผลเสียของการไม่ผ่าฟันคุด อาทิเช่น ทำให้เหงือกบวม ทำให้มีกลิ่นปากตลอดเวลา ปวดศีรษะอยู่บ่อย ๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ ขาดสมดุลของการยิ้มทำให้ปากเบี้ยว มีปัญหาเรื่องหินปูน เพราะการทำความสะอาดไม่ทั่วถึง ปวดหน้าหู ปวดตา ปวดศีรษะ เป็นต้น ซึ่งทำให้เกิดปัญหาดังนี้ตามมา คือ ฟันคุดทำให้ฟันเก ฟันคุดทำให้ฟันผุ ฟันคุดทำให้เหงือกอักเสบ ฟันคุดทำให้ติดเชื้อ ฟันคุดมีโอกาสทำให้เกิดถุงน้ำ  ซึ่งอาจสร้างปัญหาได้ มีอาการปวด เพราะตัวฟันคุดเองมีแรงผลักเพื่อจะงอกขึ้นมาในขากรรไกร แต่ถูกกันหรือติดโดยฟันข้างเคียง ทำให้มีแรงย้อนกลับไปกดที่เส้นประสาทของขากรรไกร อาการปวดมีตั้งแต่ทนได้จนกระทั่งปวดมาก จึงก่อให้เกิดผลเสียอย่างมากในการมีฟันคุด ดังนั้นเราควรที่จะปรึกษาทันตแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะ ถือว่าเป็นวิธีป้องกันไม่ก่อให้เกิดอาการ มากมายต่าง ๆตามมาซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพช่องปากและฟัน ผลเสียของฟันคุดสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 กรณี คือ
กรณีฟันขึ้นแล้ว ทำให้
1. ฟันซี่นั้นผุ เพราะทำความสะอาดไม่ทั่วถึง
2. ทำให้ฟันข้างเคียงไปด้วย
3. ทำให้เหงือกอักเสบ เนื่องจากเป็นที่สะสมแผ่นคราบจุลินทรีย์
4. ถ้าผุจนกระทั่งโพรงประสาทอักเสบ อาจเกิดอาการเจ็บปวดไปยังบริเวณอื่นได้
กรณีฟันนั้นยังไม่ขึ้น
1. ถ้าขากรรไกรเจริญไม่ดี อาจทำให้เกิดการซ้อนเกของฟันหน้าได้
2. ถ้าขณะที่ฟันซี่นี้กำลังขึ้น อาจทำให้ฟันข้างเคียงเก
3. แรงดันจากการขึ้นของฟัน ทำให้เกิดความเจ็บปวดไปยังบริเวณอื่น เช่น ปวดหู มีการบวมของเหงือกลามมาถึงฟันหน้า เป็นต้น
4. อาจกระตุ้นให้เกิดถุงน้ำ รอบฟันซี่ที่คุดอยู่ และอาจกลายเป็นเนื้องอกได้
5. ฟันซี่ที่คุดมักมีเหงือกปิด ทำให้มองไม่เห็น เมื่อมีการติดเชื้อแล้วทำให้เกิดการอักเสบและเกิดถุงหนองรอบๆฟัน ซึ่งพบได้บ่อยที่สุด ทำให้อ้าปากไม่ได้
6. บริเวณที่มีฟันคุด เป็นจุดอ่อน ทำให้เกิดขากรรไกรหักได้ง่าย
7. การถอนฟันคุดเมื่ออายุมากแล้ว จะทำได้ค่อนข้างยาก และมีอาการแทรกซ้อนมาก
จะทราบได้อย่างไรว่ามีฟันคุด
1. สังเกตเนื้อเยื่อบริเวณหลังของฟันซี่สุดท้าย ที่อยู่ข้างๆแก้มมีการเปลี่ยนแปลง อาจจะบวมโต แดง กดแล้วเจ็บ อาจปวดด้วย ถ้าเป็นมากอาจจะอ้าปากไม่ขึ้น เคี้ยวและกลืนอาหารลำบาก
2ไม่เห็นความผิดปรกติ แต่ทราบโดยดูจากอายุ โดยทั่วไปจะขึ้นเมื่ออายุ 17-25 ปี จึงต้องถ่าย X-ray เพื่อจะได้ทราบว่าฟันซี่นี้อยู่หรือไม่ และถ้ามี ฟันนี้วางตัวอยู่ในลักษณะที่ผิดปรกติหรือไม่
     จากข้อมูลเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่า ฟันคุด ถึงแม้ว่าจะไม่ส่งผลมากมายหากเราไม่เข้ารับการรักษา แต่อีกแง่หนึ่งฟันคุดก็สามารถเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคฟันอื่นๆ และกลิ่นปาก ตามมาได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นโรคฟันผุ ฟันเก ทำให้เหงือกอักเสบ และอาจทำให้เกิดถุงน้ำซึ่งจะทำให้สูญเสียขากรรไกรได้  อย่างที่เราเห็นกันแล้วว่าฟันคุดไม่ให้ผลดีให้กับสุขภาพร่างกายเลย และยังทำให้เราเสียสุขภาพจิตใจอีกด้วย ดังนั้นแล้วหากเราเป็นฟันคุดเราก็ควรเข้ารับการรักษา เพื่อให้สุขภาพฟันแข็งแรง และควรหมั่นดูแลทำความสะอาดเพื่อที่จะได้มีฟันที่แข็งแรง สวยงาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น